Page 6 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 6
กิติกรรมประกาศ
โครงการวิจัยฯนี้ คณะผู้วิจัยพยายามให้พื้นที่แก่ผู้ลี้ภัยได้น�าเสนอ “เสียง” ของตนเองให้มากที่สุด และ
พยายามที่จะชี้ให้เห็นถึงความไม่สิ้นหวังถึงแม้จะถูกจ�ากัดอยู่ในพื้นที่ที่ไร้อิสรภาพ ความพยายามในการเรียนรู้เพื่อจะ
ก้าวข้ามอุปสรรคและข้อจ�ากัดเชิงโครงสร้างทางการเมือง และเศรษฐกิจ ปัญหาการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจที่เกี่ยวกับ
การเดินทางกลับคืนสู่ถิ่นฐาน และความเดือดร้อนอันเนื่องมาจากการลดความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมจากองค์กร
เอกชนระหว่างประเทศ นอกเหนือจาก “เสียง” ของผู้ลี้ภัยที่ชายแดนไทย-พม่า/เมียนมาร์ สิ่งที่สะท้อนให้เห็น
ในงานวิจัยนี้ คือ ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ความแตกต่างทางศาสนา ช่วงอายุที่แตกต่างกัน และช่วงเวลาของการ
เข้ามาพักอาศัยในค่ายผู้ลี้ภัยที่น่าจะมีความส�าคัญต่อการพิจารณาในการก�าหนดนโยบายและแนวทางการส่งผู้ลี้ภัย
กลับคืนสู่ถิ่นฐานอย่างสมัครใจ รวมทั้งการค�านึงถึงความปลอดภัย รวมทั้งข้อพิจารณาในการบูรณาการของผู้ลี้ภัยกับ
ชุมชนท้องถิ่นบริเวณชายแดนอย่างยั่งยืน
คณะผู้วิจัยขอขอบพระคุณ นายแพทย์ นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ในการสนับสนุน ให้ก�าลังใจ และช่วยแก้ไข
ปัญหาอุปสรรคในการด�าเนินการวิจัย รวมทั้งขอขอบคุณคณะอนุกรรมการด้านสิทธิและสถานะบุคคลผู้ไร้สัญชาติไทย
พลัดถิ่น ผู้อพยพและชนพื้นเมือง ที่ให้ข้อคิดเห็น และให้ความร่วมมือในการร่วมรับฟังความคิดเห็นของผู้ลี้ภัยในวาระ
ต่างๆ ความส�าเร็จของโครงการวิจัยฯ นี้ ยังมีบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งที่ช่วยประสานงานแก้ไขข้อขัดข้องการบริหารจัดการ
โครงการ ผู้วิจัยขอขอบคุณ คุณศิริวรรณ ขนุนทอง และคุณเอกชัย ปิ่นแก้ว เจ้าหน้าที่ส�านักงานคณะกรรมการสิทธิ
มนุษยชนแห่งชาติ ที่ช่วยเหลือการประสานงานต่าง ๆ ระหว่างคณะผู้วิจัยกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้วย
ความเป็นกัลยาณมิตรอย่างดียิ่ง
ชยันต์ วรรธนะภูติ
มาลี สิทธิเกรียงไกร
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5 ฅ
ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว