Page 8 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 8
บทสรุปผู้บริหาร ว่าเป็น “ผู้หนีภัยจากการสู้รบ” การให้ความช่วยเหลือดูแลคนเหล่านี้จึงเป็นไปตามหลักมนุษยธรรม กล่าวคือ ให้อาหาร ที่อยู่
อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และการศึกษาพอเพียงแก่การด�ารงชีพ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ส�านักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่ง
สหประชาชาติ (The United Nations High Commissioner for Refugees: UNHCR) ได้เริ่มเข้ามาดูแลให้ความช่วยเหลือ
รวมทั้งคัดกรองผู้ลี้ภัยจ�านวนหนึ่งให้เดินทางไปประเทศที่สาม แต่ก่อนหน้านี้ก็มีองค์กรเอกชนต่างประเทศได้เข้ามาให้การ
ช่วยเหลืออยู่บ้างแล้ว ส�าหรับผู้ลี้ภัยที่พ�านักในค่ายผู้ลี้ภัยเหล่านี้ไม่สามารถเดินทางออกนอกค่ายผู้ลี้ภัยได้ ยกเว้นได้รับอนุญาต
จากผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ ขณะนี้ก�าลังรอการส่งกลับคืนสู่ถิ่นฐานเดิม
๒. การจ�าแนกประชากรในค่ายผู้ลี้ภัย
๒.๑ จ�านวนประชากรในค่ายผู้ลี้ภัย
การส�ารวจเพื่อให้ได้จ�านวนประชากรในค่ายผู้ลี้ภัยที่แท้จริงแทบจะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากปัญหา
สองประการ คือ ประการแรก ผู้ลี้ภัยเป็นกลุ่มประชากรที่มีความเคลื่อนไหวตลอดเวลา เมื่อเกิดการสู้รบระหว่างกองทัพพม่า
และกองก�าลังถืออาวุธชนกลุ่มน้อย ประชาชนในพื้นที่จะอพยพหนีมายังฝั่งประเทศไทยเพื่อหาที่พักพิง หลังปี พ.ศ. ๒๕๔๘
มีจ�านวนผู้ลี้ภัยเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมองเห็นโอกาสที่จะเดินทางไปประเทศที่สาม บางคนเข้ามาอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยและหลบหนี
ออกไปหางานท�านอกค่าย บางส่วนได้ทยอยเดินทางกลับไปถิ่นฐานเดิมเมื่อสถานการณ์การสู้รบเบาบางลง ในขณะเดียวกัน
ยังปรากฏว่ามีผู้ลี้ภัยอีกจ�านวนหนึ่งที่อพยพเข้ามาในค่ายผู้ลี้ภัยในระยะหลังด้วยเหตุผลต่างๆ ที่ไม่ใช่มาจากการสู้รบโดยตรง
ดังนั้น จึงเป็นเรื่องยากที่จะได้มาซึ่งจ�านวนที่แน่นอนของประชากรผู้ลี้ภัย ประการที่สอง ที่ผ่านมามีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ที่ส�ารวจและรวบรวมจ�านวนผู้ลี้ภัย ๓ หน่วยงาน คือ กระทรวงมหาดไทย UNHCR และ TBC (The Border Consortium)
ทั้งสามหน่วยงานต่างมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจ�านวนผู้ลี้ภัยเพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงมีจ�านวนตัวเลขไม่เท่ากัน
เป็นต้นว่า TBC มีจ�านวนของผู้ลี้ภัยน้อยกว่าจ�านวนของ UNHCR ทั้งนี้ เพราะ TBC ใช้จ�านวนของผู้ลี้ภัยที่มีสิทธิในการรับ
อาหารปันส่วน ส่วน UNHCR ซึ่งมีการส�ารวจจ�านวนประชากรผู้ลี้ภัยล่าสุดในต้นปี พ.ศ. ๒๕๕๘ พบว่าจ�านวนผู้ลี้ภัยลดลงจาก
เดิมที่มีประมาณ ๑๕๐,๐๐๐ คน เหลืออยู่ปัจจุบัน ๑๐๙,๐๓๕ คน
๒.๒ ประเภทของผู้ลี้ภัย
UNHCR ได้แบ่งประเภทผู้ลี้ภัยออกเป็น ๓ กลุ่มคือ ๑) ผู้ลี้ภัยจากการสู้รบที่ได้รับการขึ้นทะเบียน
(Registered) ซึ่งถือบัตรประจ�าตัว หรือที่เรียกกันในหมู่ผู้ลี้ภัยว่า ผู้ที่มีบัตร UN เป็นผู้ที่พักอาศัยอยู่ตั้งแต่ค่ายนั้น ๆ เปิด
จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งเป็นปีที่ UNHCR เริ่มส�ารวจจ�านวนผู้ลี้ภัยครั้งแรก ๒) ผู้ลี้ภัยที่ได้รับการขึ้นทะเบียนประเภท Pre-
Screening เป็นบัตรที่แสดงว่าบุคคลนั้นได้เดินทางมาพักอาศัยในค่ายผู้ลี้ภัยตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ถึงปี พ.ศ. ๒๕๕๑ และเป็น
บุคคลที่มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดทางเครือญาติกับผู้ลี้ภัยประเภทแรก และอยู่ในกระบวนการคัดกรองของ UNHCR ในการ
ส่งไปประเทศที่สาม และ ๓) ประเภทที่ไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนกับ UNHCR เป็นบุคคลที่มาพักอาศัยในค่ายผู้ลี้ภัยในช่วงหลัง
พ.ศ. ๒๕๔๘ ที่ไม่ใช่ผู้ที่ได้อพยพเข้ามาในฝั่งประเทศไทยอันเนื่องมาจากการสู้รบโดยตรง แต่อาจจะได้รับผลจากการบีบบังคับ
เรียกเก็บภาษี การถูกเกณฑ์ให้เป็นลูกหาบ หรือเป็นแรงงาน ความหวาดกลัวต่อการปะทะของทหารพม่าและกองก�าลังหลายฝ่าย
ในประเทศพม่า/เมียนมาร์ การถูกข่มขืน รวมไปถึงความอดอยาก การขาดโอกาสทางการศึกษา จึงท�าให้เลือกที่อพยพมาพักอาศัย
ในค่ายผู้ลี้ภัย
การจ�าแนกผู้ลี้ภัยดังกล่าวข้างต้น อาจจะถือได้ว่าเป็นวิธีการที่เหมาะสมในการให้โอกาสแก่ผู้ลี้ภัยในการ
เดินทางไปประเทศที่สาม โดยแยกผู้ลี้ภัยที่เข้ามาในค่ายผู้ลี้ภัยหลังปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกจากกลุ่มที่มาก่อนหน้านี้ แต่หากจะใช้
เพื่อเตรียมการส่งกลับประเทศต้นทาง จ�าเป็นต้องค�านึงถึงวิธีการจ�าแนกผู้ลี้ภัยที่ละเอียดมากขึ้น เช่น อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์
การนับถือศาสนา ช่วงอายุของผู้ลี้ภัย ทักษะและภูมิปัญญาของผู้ลี้ภัย ตลอดจนสภาวะทางด้านสุขภาพ เช่น คนพิการ
เด็กพิการ ผู้ลี้ภัยที่เป็นชาวมุสลิมสมควรได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ เนื่องจากมีความหวาดกลัวจากกระแสต่อต้านมุสลิม
ง
ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว