Page 82 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 82

๘.  ชาวโรฮิงญา ที่ไม่มีเงินจ่ายให้กับ เเก๊งค์ค้ามนุษย์ จะถูกขายให้บริษัทเรือประมง หรือ บริษัท
                              ทําสวน ไร่ ราคา ประมาณ ๑๐,๕๐๐ บาท หรือ ๒๑,๑๐๐ บาท ถ้าเป็นผู้หญิงจะถูกขายใน

                              ราคา ๕๓,๐๐๐ บาท
                          ๙.  ชาวโรงฮิงญาที่ถูกพาไปอยู่ในแค้มป์บนเขา เเก๊งค์ค้ามนุษย์ จะติดต่อกับญาติทาง
                              โทรศัพท์มือถือ โดยมีการทารุณ ทุบตี จนกว่าญาติจะหาเงินมาจ่ายให้ ๓๒,๐๐๐ บาท ต่อหัว
                              แล้วจึงส่งต่อไปมาเลเซีย และเมื่อถึงมาเลเซียต้องจ่าย อีก ๓๒,๐๐๐ บาทให้กับเเก๊งค์

                              ค้ามนุษย์มาเลเซีย
                          จะเห็นได้ว่า การค้ามนุษย์ชาวโรฮิงญาเกิดขึ้นได้เพราะมีการคอรัปชั่นอย่างเป็นระบบ มีเงินสะพัด
                   หลายพันล้านบาทในกระบวนการตั้งต้นทาง กลางทาง ถึงปลายทาง เป็นขบวนการที่โหดร้าย เป็น
                   อาชญากรรมข้ามชาติที่ต้องอาศัยความร่วมมือกันอย่างเหนียวแน่นในการปราบปราม เริ่มตั้งแต่การจัดการ

                   กับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องและเรียกรับประโยชน์ เพราะหากไม่ได้รับความร่วมมือจาก
                   เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง การค้ามนุษย์ในกรณีชาวโรฮิงญาไม่อาจเกิดขึ้นได้ (ดูรายละเอียดในภาคผนวกที่ ๖)
                   ซึ่งสามารถสรุปรูปแบบการตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ของชาวโรฮิงญา ซึ่งมีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก
                   ดังนี้

                          (๑) รูปแบบการเข้าสู่กระบวนการค้ามนุษย์   พบว่า กลุ่มชาวโรฮิงญา เข้าสู่กระบวนการค้า
                   มนุษย์ที่แตกต่างจากสองกลุ่มแรก เหตุผลหลักที่เข้าสู่กระบวนการค้ามนุษย์เกิดจากป๎จจัยผลัก(Push
                   Factor) คือ ความยากจน รวมทั้งการถูกคุกคามจากกลุ่มที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามและรัฐบาลเมียนมาที่

                   ไม่ยอมรับชาวโรฮิงญา ถูกกระทําทารุณจากทหารเมียนมา ถูกบังคับให้ทํางานหนัก และหากขัดขืนก็จะถูก
                   เฆี่ยนตี ไม่ได้รับค่าจ้าง ไม่ได้รับอาหาร ผู้ชายบางคนถูกฆ่าตายไปต่อหน้าต่อตา ส่วนผู้หญิงหากทหารเมียน
                   มาพอใจก็จะถูกบังคับไป จึงเป็นภัยคุกคามที่ทําให้กลุ่มชาวโรฮิงญาจําต้องอพยพออกจากพื้นที่ จุดหมาย
                   ปลายทางคือการไปอยู่ในมาเลเซียหรืออินโดนีเซียซึ่งประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม จึงเป็น
                   โอกาสให้ขบวนการนายหน้าหลอกลวง ให้ข้อมูลอันเป็นเท็จโดยเหยื่อบางรายต้องจ่ายเงินเป็นค่าจ้างให้

                   นายหน้าเพื่อการนําพาไปยังประเทศปลายทาง ดังนั้นในกลุ่มนี้ จึงเป็นป๎ญหาทั้งการลักลอบขนคนแบบผิด
                   กฎหมาย (Human Smuggling) และการค้ามนุษย์ (Human Trafficking)
                          (๒) การชักชวนให้เหยื่อเข้าสู่กระบวนการค้ามนุษย์    จากการสัมภาษณ์ชาวโรฮิงญาที่ตกเป็น

                   เหยื่อของการค้ามนุษย์ พบว่ามีขบวนการนายหน้าที่เป็นคนรู้จักไปชักชวนให้ไปทํางานที่มาเลเซีย โดยให้
                   ข้อมูลเท็จว่า ทํางานสบาย รายได้ดี  ประกอบกับบางรายมีความหวังว่าจะได้รับความช่วยเหลือจาก
                   สํานักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ประจํามาเลเซียให้การรับรองสถานภาพผู้ลี้ภัย
                   ง่ายกว่าประเทศไทย  บางรายถูหลอกว่ายังไม่ต้องจ่ายเงินค่าเดินทาง เมื่อได้งานทําแล้วค่อยผ่อนชําระแก่ผู้

                   นําพา
                          การนําพาชาวโรฮิงญาเข้ามายังประเทศไทยโดยขบวนการที่ทํางานอย่างเป็นระบบเข้าข่ายการ
                   ลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐาน (Human  Smuggling)  ซึ่งประเด็นสําคัญที่นักวิชาการยังมีความเห็นที่
                   แตกต่างกันคือ เป็นความยินยอมของเหยื่อ (consent) ซึ่งการค้ามนุษย์ เป็นกรณีที่เหยื่อไม่ยินยอมที่จะถูก

                   พามาแสวงหาประโยชน์ที่มิชอบ หรือแม้จะยินยอม ในครั้งแรกแต่ความยินยอมดังกล่าวมักมีสาเหตุหรือ
                   เหตุผลอยู่เบื้องหลัง เช่น ถูกหลอกลวงเกี่ยวกับสภาพที่แท้จริงของงานที่ต้องทํา ถูกบังคับ อยู่ในภาวะ
                   จําเป็นต้องยอมตามไม่สามารถขัดขืนได้ ขณะที่การ ลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐาน เกิดจากความยินยอมหรือ
                   สมัครใจของผู้ที่ถูกนําพาข้ามแดนมา ผู้รับจ้าง พาข้ามแดนเป็นผู้ที่ทําหน้าที่อํานวยความสะดวก หรือช่วย


                                                             ๖๒
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87