Page 60 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 60
๒.๖.๔ กฎหมายเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ในประเทศสาธารณะรัฐสังคมนิยมเวียตนาม
สาธารณะรัฐสังคมนิยมเวียตนามเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ไม่ได้มีกฎหมายที่เกี่ยวกับการค้ามนุษย์
โดยเฉพาะ กฎหมายที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่เป็นการต่อต้านการค้าผู้หญิง เด็ก ซึ่งอยู่ในประมวลกฎหมาย
อาญา ปี ๑๙๘๕ แก้ไขปรับปรุงในปี ๑๙๙๒ ในสมัยที่นายโด เมือย (Đỗ Mười) เป็นนายกรัฐมนตรี
มาตราที่แก้ไขคือ มาตรา ๑๔๙ ในประมวลกฎหมายอาญาซึ่งกล่าวว่า ผู้ที่ที่ท าการลักพาตัว ค้าหรือ
แลกเปลี่ยนเด็กต้องถูกจ าคุกระหว่าง ๑ – ๗ ปี และ ถ้าการกระท าผิดเข้าข่ายดังต่อไปนี้ ผู้กระท าผิดต้อง
ถูกจ าคุก ๕ – ๒๐ ปี
- ก่ออาชญากรรมเป็นอาชีพ
- ส่งเด็กไปต่างประเทศ
- ลักพาตัวเด็กหรือ แลกเปลี่ยนหลอกลวงเด็กมากกว่า ๑ คน
- กระท าผิดกฎหมายอย่างร้ายแรงกรณีกระท าผิดซ้ า
กฎหมายรัฐธรรมนูญปี ๑๙๙๒ มีหลายมาตราที่ สนับสนุนสิทธิสตรี และเด็ก รวมทั้งมาตรา ๖๕
ซึ่งกล่าวว่า “เด็กต้องได้รับการปกปูอง คุ้มครอง และได้รับการศึกษาโดยครอบครัว รัฐ และสังคม” ซึ่งมี
ผลกระทบทางอ้อมต่อการต่อต้านการค้ามนุษย์ ยิ่งกว่านั้น ในปี ๑๙๙๗ นายกรัฐมนตรีได้ออกค าสั่งก าหนด
มาตรการความร่วมมือในการปูองกันการค้ามนุษย์ (การส่งเด็กและสตรีไปต่างประเทศ) ดังนี้
- ประเมินผลวันที่ผู้หญิงและเด็กถูกส่งตัวไปต่างประเทศ
- ระบุปัญหา
- รณรงค์สาธารณะต่อต้านการค้ามนุษย์
- ปฏิบัติการต่อต้านบริษัทท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์
- ออกลาดตระเวนสอดส่องในพื้นที่ที่กว้างขึ้น
- ร่วมมือกับต ารวจนานาชาติ และต ารวจของประเทศเพื่อนบ้าน
- จัดท าโครงการฝึกอาชีพและสร้างงานส าหรับเหยื่อการค้ามนุษย์
- สอบสวนและฟูองคดีผู้ค้ามนุษย์
กฎหมายอื่นๆ ที่ช่วยท าให้มาตรการด้านปูองกันและคุ้มครองมีความแข็งแรง ประกอบด้วย
กฎหมายจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานปี ๑๙๙๑ และกฎหมายแรงงานปี ๑๙๙๔ ซึ่งก าหนดอายุ ๑๕ ปี เป็นอายุ
ขั้นต่ าของการจ้างงาน และแผนปฏิบัติการระดับชาติส าหรับเด็กได้ก าหนดมาตรการเฉพาะส าหรับเด็กที่อยู่
ในภาวะยากล าบาก (Humantrafficking, & Nix, n.d.)
๒.๖.๕ กฎหมายเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ในประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย
สหพันธรัฐมาเลเซียเป็นประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีเป็นอันดับที่ ๒ ในกลุ่มอาเซียนรองจาก
ประเทศสิงคโปร์ จึงอยู่ในสถานะของประเทศปลายทางมากกว่าประเทศต้นทาง
สหพันธรัฐมาเลเซียมีกฎหมาย Anti-Trafficking in Persons Act และ Anti-Smuggling of
Migrants Act ในการรับมือกับปัญหาด้านการค้ามนุษย์ โดย Anti-Trafficking in Persons Act ซึ่งเกิดขึ้น
ในปี ๒๕๕๐ ในยุคที่นายนาจิบ ราซะก์ เป็นนายกรัฐมนตรี ห้ามไม่ให้มีการค้ามนุษย์ในทุกรูปแบบ
กฎหมายได้รับการปรับปรุงแก้ไขเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๓ เพื่อขยายความหมายของการค้ามนุษย์ให้
ครอบคลุมการกระท าทุกอย่างที่เกี่ยวข้องงกับการบังคับใช้แรงงาน อย่างไรก็ดี ข้อบกพร่องในการรับมือกับ
๔๐