Page 59 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 59
ความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน เพื่อรักษาและส่งเสริมวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ และเพื่อให้สถานการณ์
การค้ามนุษย์ในกัมพูชามีความสอดคล้องกับ United Nations Protocol to Prevent, Suppress, and
Punish Trafficking in Persons, Especially Women and Children supplementing the United
Nations Convention against Transnational Organized Crime หรือมาตรฐานทางสากลอื่นๆ ที่
กัมพูชาได้ตกลงปฏิบัติตาม
นอกจากนี้ กัมพูชายังมีกฎหมายที่เรียกว่า Law on Suppression of Kidnapping, Trafficking
and Exploitation of Humans ๑๙๙๖ ซึ่งถือว่าแรงงานใช้หนี้ (Debt bondage) การเอาคนลงเป็น
ทาส (Slavery) และการบังคับให้เด็กใช้แรงงานเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ซึ่งบทลงโทษของการค้ามนุษย์ซึ่งมี
เหยื่อเป็นเด็กอายุต่ ากว่า ๑๕ ปีนั้นอยู่ที่การจ าคุกระหว่าง ๑๕ – ๒๐ ปี แล้วเหยื่อที่อายุมากกว่า ๑๕ ปี
โทษจ าคุกจะอยู่ที่ระหว่าง ๑๐ – ๑๔ ปี (U.S. Department of State, ๒๐๑๔)
๒.๖.๓ กฎหมายเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นประเทศที่มีประชาชนยากจนอยู่ถึง ๓๐.๗ % (โสภณ
พรโชคชัย, ม.ป.ป.) และด้วยเหตุที่คนลาวมีภาษาพูดที่ใกล้เคียงกับคนไทยมาก จึงมีการอพยพเข้ามาท างาน
ในประเทศไทยซึ่งส่วนหนึ่งตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวไม่ได้มีกฎหมายที่เกี่ยวกับการค้ามนุษย์โดยเฉพาะเหมือน
ประเทศอื่นๆ แต่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์อยู่ในประมวลกฎหมายอาญา และ Law on
Development and Protection of Women ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อปี ๒๕๔๗ ซึ่งอยู่ในยุคที่ นายค าไต สี
พันดอน เป็นประธานประเทศ จุดประสงค์ของกฎหมายนี้คือการปกปูองสิทธิและส่งเสริมบทบาทของ
ผู้หญิงโดยเฉพาะ และเพื่อท าให้เกิดความเข้าใจว่ารัฐ สังคมและครอบครัวควรที่จะมีบทบาทและหน้าที่
อย่างไรในเรื่องดังกล่าว นอกจากนี้ยังส่งเสริมเรื่องของความเท่าเทียมกันระหว่างเพศและยังครอบคลุมถึง
สิทธิของผู้หญิงที่เป็นชนกลุ่มน้อยด้วย ในส่วนของการค้ามนุษย์นั้น กฎหมายฉบับดังกล่าวมีขึ้นเพื่อปูองกัน
และปราบปรามการค้ามนุษย์ที่เกี่ยวกับผู้หญิงและเด็กในทุกรูปแบบ
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีการห้ามไม่ให้มีการค้ามนุษย์ทุกรูปแบบในมาตรา ๑๓๔
ของประมวลกฎหมายอาญาซึ่งได้รับการปรับปรุงในปี ๒๕๔๙ ซึ่งผู้ฝุาฝืนมีโทษจ าคุกตั้งแต่ห้าปีถึงตลอด
ชีวิต และถูกปรับเป็นเงินประมาณ ๑,๒๕๐ – ๑๒,๕๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ ๔๐,๐๐๐ –
๔๐๐,๐๐๐ บาท อย่างไรก็ตาม รัฐบาลล้มเหลวในการรวบรวมข้อมูลส าหรับการบังคับใช้กฎหมายปูองกัน
และปราบปรามการค้ามนุษย์ การด าเนินคดีนั้นไม่มีความโปร่งใสและขาดการเก็บบันทึกข้อมูลคดีเนื่องจาก
ระบบตุลาการของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ การ
ทุจริตคอร์รัปชั่นยังเป็นปัญหาใหญ่ภายในของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีการรายงานว่า
เจ้าหน้าที่บางคนมีส่วนได้ส่วนเสียกับการค้ามนุษย์ระหว่างพรมแดนไทยและลาวด้วย มีรายงานว่า
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวให้ความร่วมมือกับรัฐบาลไทยในการระบุเหยื่อผู้เสียหายจาก
การค้ามนุษย์ที่ถือสัญชาติลาวและรับตัวกลับมายังประเทศ แต่ไม่มีประสิทธิภาพในเรื่องดังกล่าวเลยเมื่อ
เป็นเรื่องของการระบุตัวตนของเหยื่อผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ภายในประเทศ และการปูองกันและ
ปราบปรามการค้ามนุษย์ของรัฐบาลถือได้ว่าล้มเหลวอย่างมาก โดยที่รัฐบาลอาศัย NGOs และองค์กร
ระหว่างประเทศในการช่วยเหลือเหยื่อผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์เกือบทั้งหมด (U.S. Department of
State, ๒๕๕๗
๓๙