Page 58 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 58
อย่างมากกับการค้ามนุษย์ ส าหรับกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ (The Anti-Trafficking in Persons
Law) ที่มีขึ้นในปี ๒๕๔๘ ซึ่งเป็นช่วงที่พลเอก โซ วิน (General Soe Win) เป็นนายกรัฐมนตรี นั้น เป็น
กฎหมายหลักของประเทศเมียนมาที่บังคับใช้เกี่ยวกับเรื่องการค้ามนุษย์ แบ่งออกเป็น ๑๐ หัวข้อใหญ่ โดย
มีจุดประสงค์ของกฎหมาย ๕ ประการ คือ
๑) เพื่อปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ โดยก าหนดประเด็นดังกล่าวให้เป็นวาระแห่งชาติ
เนื่องจากการค้ามนุษย์ท าให้ประเทศได้รับความเสียหายและเสื่อมเสียชื่อเสียง
๒) เพื่อปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์โดยให้ความส าคัญเป็นพิเศษกับผู้หญิงและเด็ก
๓) เพื่อเร่งให้มีการสืบสวนสอบสวนความผิดการค้ามนุษย์ และเพื่อปูองกันการค้ามนุษย์ที่
อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตโดยก าหนดให้มีบทลงโทษที่มีประสิทธิภาพและสามารถยับยั้งการ
กระท าความผิดได้
๔) เพื่อให้เกิดการประสานงานระหว่างองค์กรระหว่างประเทศ องค์กรในภูมิภาคและองค์กร
ระหว่างรัฐบาลในเรื่องของการปูองกันและปราบปรามค้ามนุษย์ที่สอดคล้องกับมาตรฐาน
ระหว่างประเทศที่ประเทศเมียนมาได้ลงนามปฏิบัติตาม
๕) เพื่อให้เกิดการช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพกับผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
ส าหรับกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ในเมียนมาที่ส าคัญนั้นได้แก่ประมวลกฎหมาย
อาญา มาตรา ๓๕๘ – ๓๗๗ ประมวลกฎหมายอาญาของเมียนมานั้นก าหนดให้การลักพาตัวบุคคล
โดยเฉพาะผู้หญิงและเยาวชนอายุต่ ากว่า ๑๖ ปี เป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย ส าหรับการบังคับให้ค้าแรงงาน
และการบังคับให้เยาวชนเป็นทหารเด็กนั้น เมียนมามีกฎหมาย Wards and Village Tracts
Administration Act ซึ่งได้รับการลงมติเมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๕๖ และประมวลกฎหมายอาญามาตรา
๓๗๔ ในการรับมือกับการกระท าดังกล่าว ซึ่งบทลงโทษส าหรับการกระท านี้คือโทษจ าคุกไม่เกินหนึ่งปี จ่าย
ค่าปรับ หรือทั้งจ าทั้งปรับ (U.S. Department of State, ๒๕๕๗) นอกจากนี้ การบังคับใช้แรงงานยังถูก
ห้ามไว้ใน มาตรา ๓๕๙ ของรัฐธรรมนูญของเมียนมา ฉบับปี ๒๕๕๑ ในเดือนมิถุนายน ๒๕๕๖ รัฐบาล
เมียนมาได้จัดตั้งคณะกรรมการร่างกฎหมายย่อยหรือข้อบังคับที่จ าเป็น ตาม Anti-Trafficking in
Persons Law ถึงแม้ว่ากฎหมายและข้อบังคับต่างๆ เหล่านี้ยังร่างไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่ทางการก็ยังมีการใช้
Anti-Trafficking in Persons Law ในการด าเนินการทางกฎหมายต่อผู้ที่กระท าผิดในเรื่องของการค้า
มนุษย์ อย่างไรก็ตามการจัดการยังไม่มีประสิทธิภาพมากนัก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการทุจริตคอร์รัปชั่นและ
การขาดความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ (U.S. Department of State, ๒๐๑๔)
๒.๖.๒ กฎหมายเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ในราชอาณาจักรกัมพูชา
ราชอาณาจักรกัมพูชาถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศด้อยพัฒนาที่มีความยากจนมากประเทศหนึ่ง
ถึงแม้ว่ากัมพูชาสามารถลดสัดส่วนของประชากรยากจนลงจากร้อยละ ๕๐.๒ ในปี ๒๕๔๗ ลงมาที่ร้อยละ
๑๗.๗ ในปี ๒๕๕๕ ก็ตาม (อรรินท์ มุลคุตร, ๒๐๑๕) แต่ยังคงมีประชากรจ านวนมากอพยพเข้ามาขาย
แรงงานในประเทศไทย
รัฐบาลกัมพูชาในยุคที่มีสมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการ
ประกาศใช้ Law on Suppression of Human Trafficking and Sexual Exploitation (TSE Law)
เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ โดยวัตถุประสงค์ของการใช้กฎหมายคือเพื่อปราบปรามการค้ามนุษย์และ
การแสวงหาประโยชน์ทางเพศ นอกจากนั้นแล้วยังเพื่อคุ้มครองสิทธิและศักดิ์ศรีของบุคคล เพื่อพัฒนา
๓๘