Page 57 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 57
๒.๕ การจัดตั้งแผนกคดีค้ามนุษย์ในศาลอาญา
เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ นายดิเรก อิงคนันท์ ประธานศาลฎีกา ในฐานะประธาน
กรรมการบริหารศาลยุติธรรมได้ออกประกาศคณะกรรมการการบริหารศาลยุติธรรม เรื่องการจัดตั้งแผนก
คดีค้ามนุษย์ในศาลอาญา โดยอาศัยอ านาจตามความในมาตรา ๔ มาตรา ๗ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราช
ธรรมนูญศาลยุติธรรม คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมออกประกาศให้จัดตั้งแผนกคดีค้ามนุษย์ ในศาล
อาญาให้บังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ข้อที่ ๓ ของประกาศนี้ให้ความหมายของ “คดีค้ามนุษย์” ว่าคือคดีที่โจทก์ฟูองขอให้ลงโทษจ าเลย
ตามพระราชบัญญัติปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ไม่ว่าจะมีข้อหาความผิดตาม
กฎหมายอื่นรวมอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม และให้หมายความรวมถึงกรณีที่มีการขอให้ศาลด าเนินกระบวน
พิจารณาตามมาตรา ๒๙ มาตรา ๓๐ และมาตรา ๓๑ แห่ง พระราชบัญญัติปูองกันและปราบปรามการค้า
มนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๔ ให้จัดตั้งแผนกคดีค้ามนุษย์ในศาลอาญาโดยให้อ านาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณา
พิพากษาคดีค้ามนุษย์ที่อยู่ในเขตอ านาจ และที่โอนมาตามกฎหมาย (๒) ด าเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ที่อยู่
ในอ านาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๕ ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีค้ามนุษย์ในศาลอาญา เป็นผู้รับผิดชอบงานในแผนกหนึ่งคน
และให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาจัดให้มีผู้พิพากษาที่มีความรู้เชี่ยวชาญด้านคดีค้ามนุษย์จ านวนตามที่
เห็นสมควรเป็นผู้พิพากษาประจ าคดีค้ามนุษย์
ในกรณีที่มีความจ าเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาอาจมอบหมายให้ผู้
พิพากษาในแผนกคดีค้ามนุษย์พิจารณาพิพากษาคดีอื่นใดตามเห็นสมควรด้วยก็ได้
ข้อ ๖ แผนกคดีค้ามนุษย์ในศาลอาญาจะเริ่มท าการเมื่อใด ให้เป็นไปตามประกาศของอธิบดีผู้
พิพากษาศาลอาญา แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินหกสิบวัน นับแต่วันประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ ๗ ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญารักษาการตามประกาศนี้
จะเห็นได้ว่า การจัดตั้งแผนกคดีค้ามนุษย์ในศาลอาญานั้น เป็นสัญญาณที่บอกได้ว่า ศาลได้มีการ
ปรับตัวเพื่อรองรับคดีค้ามนุษย์ให้มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น
๒.๖ สาระส าคัญของกฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศเพื่อนบ้าน
๒.๖.๑ กฎหมายเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ในประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
เป็นเวลากว่า ๓๐ ปีที่สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาอยู่ภายใต้การปกครองโดยรัฐบาลทหาร
ความขัดแย้งภายในประเทศระหว่างรัฐบาลกลางกับกองก าลังชนกลุ่มน้อยส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่มี
ความทุกข์ยาก การอพยพไปท างานต่างประเทศเป็นทางออกหนึ่งที่จะท าให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น จึง
กลายเป็นโอกาสของขบวนการค้ามนุษย์ที่จะหลอกลวงคนยากคนจนและต้องการอพยพไปท างาน
ต่างประเทศอยู่แล้วได้ง่ายขึ้น
รัฐบาลประเทศเมียนมาให้ความส าคัญกับประเด็นการค้ามนุษย์ระหว่างพรมแดนมาก แต่ก็ยังคง
ไม่มีการจับกุมผู้กระท าผิดเรื่องการค้ามนุษย์หลายราย โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้อง
๓๗