Page 37 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 37

ต่อมาถูกลิดรอนสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานและอยู่ในสภาพเยี่ยงทาส (องค์กรสากลต่อต้านความเป็นทาส,
                   ๒๕๔๖, น. ๒๓)

                          องค์กรระหว่างประเทศเพื่อการย้ายถิ่น (International Organizational for Migration) กล่าว
                   ว่าการค้ามนุษย์เกิดขึ้นเมื่อ “ผู้ย้ายถิ่นได้รับการจ้างงานอย่างผิดกฎหมาย และ/หรือถูกเคลื่อนย้าย ไม่ว่าจะ
                   ภายในประเทศหรือข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ (และ) ในระหว่างส่วนใดของกระบวนการนี้ ตัวกลาง
                   (นักค้ามนุษย์)  ได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจหรือผลประโยชน์อื่น โดยการใช้อุบายหลอกลวง การบีบ

                   บังคับ และ/หรือการแสวงหาประโยชน์อื่นภายใต้เงื่อนไขซึ่งละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ย้ายถิ่น” (องค์กร
                   สากลต่อต้านความเป็นทาส, ๒๕๔๖, น. ๒๓)
                          พันธมิตรทั่วโลกเพื่อต่อต้านการค้าผู้หญิง (Global Alliance Against Trafficked in Women –
                   GAATW) ได้น าเสนอนิยามของการค้ามนุษย์ว่า หมายถึงการกระท าและความพยายามใดๆ ที่เป็นการ

                   จัดหา ขนส่ง ล าเลียงภายในหรือข้ามพรมแดน  การซื้อขาย การส่งต่อ หรือการรับ หรือกักขังหน่วงเหนี่ยว
                   บุคคล ด้วยการล่อลวง การบังคับ รวมทั้งการใช้การขู่ที่จะใช้ก าลัง  หรือใช้อ านาจหน้าที่โดยมิชอบหรือการ
                   ผูกมัดด้วยภาระหนี้สิน เพื่อกักขังหน่วงเหนี่ยวบุคคลนั้นให้ตกอยู่ในภาวะจ ายอม ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีค่าจ้าง
                   ก็ตาม  เพื่อบังคับใช้แรงงาน หรือเป็นแรงงานติดหนี้ หรือท าให้ตกอยู่ในสภาพการท างานเยี่ยงทาสใน

                   ชุมชนอื่นที่มิใช่ภูมิล าเนาที่บุคคลนั้นอาศัยอยู่ในขณะที่เกิดการล่อลวง บังคับ หรือมีหนี้สินผูกมัดขึ้น (ศิบดี
                   นพประเสริฐ, ๒๕๕๓, น. ๙)
                           ในส่วนของความหมายของการค้ามนุษย์ตามกฎหมายไทยนั้น พระราชบัญญัติปูองกันและ

                   ปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๖ ได้ให้ความหมายของการค้ามนุษย์ไว้ว่า
                           “ผู้ใดเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ กระท าการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้ (๑) เป็นธุระจัดหา
                   ซื้อ ขาย จ าหน่าย พามาจากหรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยวกักขัง จัดให้อยู่อาศัย หรือรับไว้ซึ่งบุคคลใด โดย
                   ข่มขู่ ใช้ก าลังบังคับ ลักพาตัว ฉ้อฉล หลอกลวง ใช้อ านาจโดยมิชอบ หรือโดยให้เงินหรือผลประโยชน์อย่าง
                   อื่นแก่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลบุคคลนั้นเพื่อให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลให้ความยินยอมแก่ผู้กระท าความผิดใน

                   การแสวงหาประโยชน์จากบุคคลที่ตนดูแลหรือ (๒) เป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย จ าหน่าย พามาจากหรือส่งไป
                   ยังที่ใด หน่วงเหนี่ยวกักขังจัดให้อยู่อาศัย หรือรับไว้ซึ่งเด็ก ผู้นั้นกระท าความผิดฐานค้ามนุษย์”
                          นอกจากนี้แล้วควรที่จะกล่าวถึงมาตรา ๔ และมาตรา ๗ ของพระราชบัญญัติฯ ด้วยเพื่อให้

                   ครอบคลุมความหมายของการค้ามนุษย์มากขึ้น โดยที่มาตรา ๔ ได้ให้ความหมายของค าว่า “แสวงหา
                   ประโยชน์โดยมิชอบ” และ “การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ” โดยมีรายละเอียดคือ
                           “แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ”  หมายความว่า การแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณี การ
                   ผลิตหรือเผยแพร่วัตถุหรือสื่อลามก การแสวงหาประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่น การเอาคนลงเป็นทาส

                   การน าคนมาขอทาน การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ การบังคับตัดอวัยวะเพื่อการค้าหรือการอื่นใดที่
                   คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคล ไม่ว่าบุคคลนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม
                          ส่วน “การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ” นั้นหมายถึง การข่มขืนใจให้ท างานหรือให้บริการโดยท า
                   ให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของบุคคลนั้นเองหรือของผู้อื่น

                   โดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้ก าลังประทุษร้าย หรือโดยท าให้บุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืน
                   ได้
                          ในส่วนของมาตรา ๗ นั้น ได้บัญญัติการกระท าที่มีโทษเช่นเดียวกับผู้กระท าความผิดฐานค้ามนุษย์
                   ได้แก่ การสนับสนุน อุปการะ โดยให้ทรัพย์สินหรือหาที่พักให้ช่วยเหลือประการใดพ้นการจับกุม เรียกรับ


                                                             ๑๗
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42