Page 38 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 38
หรือยอมจะรับทรัพย์สินเพื่อมิให้ผู้กระท าความผิดถูกลงโทษ ชักชวน ชี้แนะ หรือติดต่อบุคคลให้เข้าเป็น
สมาชิกขององค์กรอาชญากรรมเพื่อค้ามนุษย์
มีข้อควรค านึงถึงประการหนึ่งคือ การประกอบอาชญากรรมการค้ามนุษย์ (Human Trafficking)
นั้นจะใกล้เคียงกับการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐาน (Smuggling) เนื่องจากมีการใช้วิธีขนย้ายคนเช่นกัน ซึ่ง
อาจจะท าให้เกิดความสับสนแก่เจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติงานได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ส าคัญอย่างยิ่งที่จะต้องแยกทั้ง
สองประเด็นออกจากกัน ซึ่งพิธีสารเพื่อต่อต้านการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานทางบก ทางทะเล และทาง
อากาศ (Protocol against the Smuggling of Migrants by Land, Sea and Air) ข้อ ๓ (a) ได้อธิบาย
ว่า “การลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐาน” คือการจัดให้มีการเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายของบุคคลหนึ่งซึ่งมิใช่
คนของชาติหรือผู้มีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐภาคีที่เข้าไปนั้น เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ทางการเงินหรือ
ผลประโยชน์ทางวัตถุอื่นจากการนั้น ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม
สมชาย ว่องไวเมธี (๒๕๕๖, น. ๗) กล่าวว่า การลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐาน คือ การน าพาผู้ที่
ประสงค์จะเดินทางเข้าประเทศอื่นเพื่อความมุ่งประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่ผ่านช่องทางและวิธีการ
ตามกฎหมายของประเทศนั้นๆ ได้ก าหนดไว้ และเมื่อการด าเนินการดังกล่าวส าเร็จบรรลุตามวัตถุประสงค์
คือ สามารถน าพาบุคคลที่ประสงค์เดินทางเข้าประเทศได้เรียบร้อยแล้ว ผู้ที่รับจ้างน าพาก็จะได้รับ
ผลตอบแทนเป็นเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นจากผู้ประสงค์เดินทาง ซึ่งถ้าพิจารณาตามหลักของประเทศ
ไทย ผู้รับจ้างคือผู้ที่ลงมือกระท าผิด โดยผู้ประสงค์เดินทางคือ ผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระท าความผิด
๒.๒.๒ องค์ประกอบของการค้ามนุษย์
การค้ามนุษย์มีองค์ประกอบส าคัญ ดังนี้
(๑) การกระท า (Action) ประกอบด้วย ก. มีการจัดหา (Recruitment) เป็นธุระจัดหา
ซื้อ ขาย จ าหน่าย ข. มีการน าพาไป (Transportation, Transfer) พามาจาก ส่งไปยังที่ใดที่หนึ่ง ค. มีการ
รับตัวเอาไว้ (Harboring or Receipt) รับไว้ หน่วงเหนี่ยวกักขัง จัดอยู่อาศัย
(๒) วิธีการ (Means) โดยขู่เข็ญ ใช้ก าลังบังคับ ลักพาตัว ฉ้อฉล หลอกลวง ใช้อ านาจโดย
มิชอบโดยให้เงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นแก่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลนั้นให้ความ
ยินยอมแก่กระท าผิดในการแสวงหาประโยชน์จากบุคคลที่ตนดูแล
(๓) วัตถุประสงค์ (Purpose) เพื่อการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ (Exploitation)
ได้แก่ การแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณี การผลิตหรือเผยแพร่วัตถุหรือสื่อลามก การแสวงหา
ประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่น การเอาคนลงเป็นทาส การน าคนมาขอทาน การบังคับใช้แรงงานหรือ
บริการ การบังคับตัดอวัยวะเพื่อการค้า หรือการอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคล (สมพงศ์ เย็น
แก้ว, ๒๕๕๔)
๒.๒.๓ รูปแบบการค้ามนุษย์
จากการศึกษาวิจัยขององค์การต ารวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ (The International
Criminal Police Organization – INTERPOL) และ Global Alliance Against Traffic in Women
(GAATW) ในโครงการวิจัยเรื่อง “กระบวนการเข้าสู่การค้ามนุษย์” โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาอาชญาวิทยา
และกระบวนการยุติธรรม คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (๒๕๕๐) แบ่งประเภท
ของการค้ามนุษย์ดังนี้
๑๘