Page 35 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 35

ลักลอบค้าอาวุธ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ และเครื่องกระสุนโดยผิดกฎหมาย และพิธีสารเพื่อต่อต้านการ
                   ลักลอบขนย้ายถิ่นทางบก ทะเล และอากาศ ซึ่งประเทศไทยก็ได้เข้าร่วมลงนามเป็นประเทศภาคีสมาชิก

                   ด้วย ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ส าคัญของอนุสัญญา คือการส่งเสริมความร่วมมือในการปูองกัน
                   และต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่มีลักษณะจัดตั้งในลักษณะองค์กรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยที่รัฐภาคี
                   ที่เข้าเป็นสมาชิกต้องร่วมมือและให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามกฎหมายอาญา และมาตรการที่ส าคัญ
                   ที่สุดในการอนุสัญญาฉบับนี้ คือ การก าหนดให้รัฐภาคีต้องบัญญัติให้การกระท าผิดที่ระบุตามอนุสัญญา

                   เป็นความผิดตามกฎหมายอาญาภายในของรัฐภาคี โดยอนุสัญญาได้ก าหนดให้รัฐภาคีใช้มาตรการต่างๆใน
                   การปราบปรามองค์กรอาชญากรรม ดังนี้
                                 ๑) การก าหนดให้การมีส่วนร่วมในกลุ่มองค์กรอาชญากรรมเป็นความผิด
                                 ๒) การก าหนดให้การฟอกทรัพย์สินที่ได้จากอาชญากรรมเป็นความผิด

                                 ๓) การก าหนดการฉ้อราษฎร์บังหลวงเป็นความผิดอาญา
                                 ๔) การก าหนดให้การขัดขวางกระบวนการยุติธรรมเป็นความผิด
                                 ๕) มาตรการริบและการยึด
                                 ๖) มาตรการส่งผู้ร้ายข้ามแดน

                                 ๗) มาตรการโอนตัวนักโทษ
                                 ๘) ความร่วมมือระหว่างประเทศในคดีอาญาได้แก่ มาตรการความร่วมมือระหว่าง
                                    ประเทศในการช่วยเหลือในการริบทรัพย์สิน และมาตรการความช่วยเหลือทาง

                                    กฎหมายซึ่งกันและกัน
                                 ๙) การสืบสวนสอบสวนร่วม
                                 ๑๐) เทคนิคการสืบสวนพิเศษ
                                 ๑๑) การโอนการด าเนินคดีอาญา
                                 ๑๒) การจัดท าทะเบียนประวัติอาชญากร

                                 ๑๓) มาตรการคุ้มครองพยาน
                                 ๑๔) การให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองผู้เสียหาย
                                 ๑๕) มาตรการที่จะขยายความร่วมกับหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมาย

                                 ๑๖) การเก็บรวบรวมการแลกเปลี่ยนและการวิเคราะห์ข้อสนเทศเกี่ยวกับลักษณะของ
                                     องค์กรอาชญากรรม
                                 ๑๗) ความช่วยเหลือด้านการฝึกอบรมและวิชาการ
                          อย่างไรก็ตามอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติยังคงมีข้อจ ากัดเกี่ยวกับ

                   การบังคับใช้มาตรการในการปูองกันปราบปราม และแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติคือ กฎหมายที่
                   บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันสร้างขึ้นมาบนฐานที่จะใช้ปราบปรามการกระท าผิดที่กระท าโดยปัจเจกบุคคลเป็น
                   ส าคัญ จึงยังไม่เหมาะสมกับการใช้ปราบปรามองค์กรอาชญากรรม อีกทั้งองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ
                   นับวันมีพัฒนาการในการก่ออาชญากรรมหรือการกระท าความผิดมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นทุกขณะ  และ

                   แม้ว่าในบางมาตรการของกฎหมายที่ออกมาเพื่อปราบปรามการกระท าความผิดขององค์กรอาชญากรรม
                   โดยเฉพาะ ก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควร ไม่มีการจัดท าอย่างเป็นระบบ เป็นกฎหมายเดี่ยวไม่มีมาตรการอื่น
                   สนับสนุนทั้งในด้านการหาพยานหลักฐาน การสืบสวน การให้ความมั่นใจในความปลอดภัยแก่พยาน




                                                             ๑๕
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40