Page 36 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 36

ปัจจุบันประเทศไทยไม่มีมาตรการทางด้านกฎหมายที่สามารถน ามาใช้ในการปูองกันและ
                   ปราบปรามองค์กรอาชญากรรมได้อย่างจริงจัง แม้ว่ามีกฎหมายไทยหลายฉบับที่มีบทบัญญัติใกล้เคียงกับ

                   การที่จะน ามาใช้เป็นมาตรการในการปูองกัน ปราบปรามองค์กรอาชญากรรม เช่น บทบัญญัติประมวล
                   กฎหมายอาญาว่าด้วยเรื่องอั้งยี่และซ่องโจร กฎหมายการปราบปรามการฟอกเงิน และกฎหมายปูองกัน
                   และปราบปรามยาเสพติด แต่มาตรการเหล่านี้ไม่เพียงพอ เพราะกระบวนการวิธีการพิจารณาคดีของ
                   ประเทศไทย ยังใช้มาตรการเดียวกันในการปฏิบัติต่อผู้กระท าผิดทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและสมาชิกของ

                   องค์กรอาชญากรรม นอกจากนี้องค์กรอาชญากรรมยังเต็มไปด้วยอ านาจ มีอิทธิพล และเงินทุน ปัจจัย
                   สนับสนุนอื่นๆจ านวนมาก มีการบริหารจัดการที่ซับซ้อน และอิทธิพลหนุนหลังจึงสามารถต่อสู้ ต่อรอง กับ

                   อ านาจของรัฐได้เป็นอย่างดี
                          ส่วนมาตรการทางด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ ปัจจุบันมีความร่วมมือกันระหว่างประเทศใน

                   ระดับหนึ่งโดยมีพระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศทางอาญา พ.ศ. ๒๕๓๕ และพระราชบัญญัติ
                   ส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. ๒๔๗๒ แต่มาตรการเหล่านี้ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะจัดการปัญหาองค์กร
                   อาชญากรรมและอาชญากรรมข้ามชาติ เนื่องจากมาตรการด้านความร่วมมือเป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย
                   ซึ่งมีลักษณะเป็นพิธีการและเป็นทางการ ความร่วมมือระหว่างประเทศมีขั้นตอนยุ่งยาก ท าให้ในทาง

                   ปฏิบัติการได้รับความร่วมมือเป็นเรื่องค่อนข้างยากและใช้เวลามาก

                   ๒.๒ แนวคิดว่าด้วยการค้ามนุษย์


                          ๒.๒.๑  นิยาม
                          การค้ามนุษย์เป็นประเด็นที่มีการกล่าวถึงกันอย่างกว้างขวางโดยองค์กรต่างๆ ได้ให้ค านิยามของ
                   การค้ามนุษย์ไว้คล้ายๆ กัน กล่าวคือ
                          มาตรา ๓ (a) ของพิธีสารเพื่อปูองกันและปราบปรามและลงโทษการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและ

                   เด็ก เพิ่มเติมอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ (Protocol  to  Prevent,
                   Suppress  and  Punish  Trafficking  in  Persons,  Especially  Women  and  Children,
                   supplementing  the United  Nations  Convention  against  Transnational  Organized  Crime)

                   กล่าวว่า การค้ามนุษย์ (Trafficking in  Persons)  หมายถึงการจัดหา การขนส่ง การส่งต่อ การจัดให้อยู่
                   อาศัยหรือการรับไว้ซึ่งบุคคลด้วยวิธีการขู่เข็ญหรือด้วยการใช้ก าลัง หรือด้วยการบีบบังคับในรูปแบบอื่นใด
                   ด้วยการลักพาตัว ด้วยการฉ้อโกง ด้วยการหลอกลวง ด้วยการใช้อ านาจโดยมิชอบหรือด้วยการใช้สถานะ
                   ความเสี่ยงภัยจากการค้ามนุษย์โดยมิชอบหรือมีการให้หรือรับเงินหรือผลประโยชน์เพื่อให้ได้มาซึ่งความ

                   ยินยอมของบุคคลผู้มีอ านาจควบคุมบุคคลอื่น เพื่อความประสงค์ในการแสวงประโยชน์ การแสวง
                   ประโยชน์อย่างน้อยที่สุดให้รวมถึงการแสวงประโยชน์จากการค้าประเวณีของบุคคลอื่นหรือการแสวง
                   ประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่น การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ การเอาคนลงเป็นทาสหรือการกระท าอื่น
                   เสมือนการเอาคนลงเป็นทาส การท าให้ตกอยู่ใต้บังคับหรือการตัดอวัยวะออกจากร่างกาย

                          คณะกรรมาธิการยุโรปกล่าวว่า “การค้ามนุษย์ เพื่อวัตถุประสงค์ในการแสวงหาประโยชน์ทางเพศ
                   ครอบคลุมไปถึงหญิงซึ่งถูกข่มขู่และ/หรือถูกกระท าทารุณกรรมจากการค้ามนุษย์ ความยินยอมในเริ่มแรก
                   อาจไม่เกี่ยวข้องเนื่องจากบางคนเข้ามาอยู่ในวงจรการค้ามนุษย์โดยที่ทราบว่าจะท างานเป็นโสเภณี แต่




                                                             ๑๖
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41