Page 34 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 34

กระท าที่มีประเทศที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย ๒ ประเทศ กระท าร่วมกันโดยกลุ่มบุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปใน
                   รูปแบบขององค์กร มีจุดมั่งหมายเพื่อแสวงหาประโยชน์ร่วมกันโดยมีการตระเตรียม การพยายาม และลง

                   มือกระท าความผิดต่อเนื่องกันจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งหรือหลายประเทศ (วัชรพล ประสาร
                   ราชกิจ, ๒๕๔๔, หน้า ๖๐)
                          จากความหมายของ องค์กรอาชญากรรม และอาชญากรรมข้ามชาติ จะเห็นได้ว่าทั้ง ๒ ค ามี
                   ความหมายที่แตกต่างกัน โดยที่ค าว่า องค์กรอาชญากรรม เป็นเรื่องของการอธิบายถึงการก่ออาชญากรรม

                   ในรูปขององค์กร มีผู้กระท าผิด/อาชญากรมากว่า ๑ คน มีเปูาหมายในการก่ออาชญากรรมที่ชัดเจน มีการ
                   กระท าที่เป็นกระบวนการ ส่วนอาชญากรรมข้ามชาติ ได้สะท้อนให้เห็นถึงความซับซ้อนของการก่อ
                   อาชญากรรมที่มิได้จ ากัดขอบวงอยู่เฉพาะในประเทศหรือรัฐใดหนึ่งเท่านั้น หากแต่มีลักษณะของการข้าม

                   ชาติ (Transnational) คือ ลักษณะการกระท าความผิดที่เกิดขึ้นหรือมีการเคลื่อนไหวข้ามพรมแดน
                   ประเทศ โดยอาจมีการข้ามแดนของคน เช่น ตัวอาชญากรผู้หลบหนีการลงโทษหรือเดินทางเพื่อไปกระท า
                   ความผิด หรือเป็นกรณีของผู้เสียหาย เช่น ในกรณีการกระท าผิดในคดีลักลอบค้ามนุษย์ หรือเป็นการ

                   เคลื่อนย้ายพรมแดนของสิ่งของ เช่น อาวุธปืน การฟอกเงิน ยาเสพติด เป็นต้น

                          ๒.๑.๒  ประเภทของอาชญากรรมข้ามชาติ
                          องค์การสหประชาชาติได้แบ่งประเภทของอาชญากรรมข้ามชาติออกเป็น ๑๐ ลักษณะ คือ

                   (วีระพงษ์ บุญโญภาส, ๒๐๐๐, น. ๗๖)
                                 ๑) การลักลอบค้ายาเสพติด (Illicit trafficking in Drugs)
                                 ๒) การลักลอบคนเข้าเมือง (Smuggling of Illegal Migrants)

                                 ๓) การค้าอาวุธ (Arms Trafficking)
                                 ๔) การลักลอบค้าอาวุธ อุปกรณ์นิวเคลียร์ (Trafficking in Nuclear Material)
                                 ๕) กลุ่มองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติและการก่อการร้าย (Transnational  Criminal
                                    Organization and Terrorism)
                                 ๖) การค้าหญิงและเด็ก (Trafficking in Women and Children)

                                 ๗) การลักลอบค้าชิ้นส่วนมนุษย์ (Trafficking in Body Part)
                                 ๘) การโจรกรรมและลักลอบค้ายานพาหนะ (Theft and Smuggling of Vehicles)
                                 ๙) การฟอกเงิน (Money Laundering)

                                 ๑๐) การกระท าความผิดอื่นๆ (Other activities) ได้แก่ การโจรกรรมศิลปวัตถุ การให้
                                    สินบนเจ้าหน้าที่ต ารวจและข้าราชการอื่นๆ อาชญากรรมคอมพิวเตอร์  อาชญากรรม
                                    สิ่งแวดล้อม อาชญากรรมทรัพย์สินทางปัญญา การฉ้อโกงประกันภัยทางทะเล การ
                                    แทรกซึมเพื่อการครอบง าธุรกิจที่ถูกกฎหมาย


                          ๒.๑.๓  มาตรการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไข
                          จากการศึกษาอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติซึ่งมีผลบังคับใช้เป็น
                   กฎหมายระหว่างประเทศเมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๖ (วันชัย รุจนวงศ์, ๒๕๔๕, น. ๗๗ – ๑๐๒) พบว่า

                   นานาประเทศให้การยอมรับมาตรการในอนุสัญญานี้ซึ่งมีพิธีสารแนบท้าย ๓ ฉบับ คือ พิธีสารเพื่อปูองกัน
                   และปราบปรามและลงโทษการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะการค้าหญิงและเด็ก พิธีสารต่อต้านการผลิตและ


                                                             ๑๔
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39