Page 121 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 121
ทาง สร้างเครือข่ายในพื้นที่และประเทศต้นทาง และองค์กรปกครองท้องถิ่น และพัฒนาการใช้สื่อเพื่อการ
เข้าถึงกลุ่มเปูาหมายในอนุภาคลุ่มน้ําโขง
ป๎ญหาและอุปสรรคการดําเนินงานที่ผ่านมาคือ ศูนย์ลูกหญิงสามารถช่วยเหลือให้เด็กและผู้หญิง
ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของกระบวนการค้ามนุษย์ แต่ไม่สามารถช่วยเหลือให้บุคคลดังกล่าวและครอบครัว
หลุดพ้นจากป๎ญหาความยากจนได้ ขณะเดียวกัน บุคคลที่อยู่ในเครือข่ายธุรกิจการค้ามนุษย์ได้มีการ
หลอกลวงให้เด็กและผู้หญิงเป็นเหยื่อของกระบวนการค้ามนุษย์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่สามารถแก้ไขให้บุคคล
ดังกล่าวมีจิตสํานึกที่ดีขึ้นได้
ศูนย์ลูกหญิงเห็นว่า การบังคับใช้พระราชบัญญัติปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.
๒๕๕๑ ว่ายังไม่มีประสิทธิภาพ กลไกการดําเนินงานของรัฐสามารถช่วยเหลือเด็กและผู้หญิงที่เป็นเหยื่อ
ของกระบวนการค้ามนุษย์ได้เป็นจํานวนมาก แต่ไม่ได้คุณภาพ บริเวณพื้นที่ชายแดนมีคนยากจนจํานวน
มาก ซึ่งเสี่ยงต่อการค้ามนุษย์ และกระบวนการค้ามนุษย์ได้พัฒนาให้มีหลากหลายรูปแบบมากขึ้น จึงทําให้
การยุติป๎ญหาการค้ามนุษย์มีความยากลําบากมากขึ้น ป๎จจัยเชิงลบที่ทําให้เกิดป๎ญหาการค้ามนุษย์ ได้แก่
ความยากจน โครงสร้างอํานาจและอิทธิพลการเมือง จิตสํานึกของคนในสังคมที่ลดน้อยลง ป๎จจัยที่จะช่วย
ลดป๎ญหาการค้ามนุษย์ คือการมีมาตรการปูองกันที่มีประสิทธิภาพ การมีส่วนร่วมในการแก้ไขป๎ญหา และ
กลไกชุมชนที่ดี
กระบวนการปูองกันป๎ญหาการค้ามนุษย์ของประเทศต้นทางเป็นสิ่งสําคัญมากที่จะช่วยยุติป๎ญหา
การค้ามนุษย์ ซึ่งป๎ญหาเศรษฐกิจและสังคมเป็นสิ่งที่ทําให้ครอบครัวขาดการดูแลเอาใจใส่บุตรหลาน และ
การรวมกลุ่มของเด็กและเยาวชนโดยที่ผู้ใหญ่ไม่ได้ให้ความสนใจดูแลและติดตามอาจเป็นการก่อให้เกิด
ความเสี่ยงที่เด็กและเยาวชนจะติดยาเสพติด
“เมื่อก่อนประเทศไทยไม่ได้ตระหนักในเรื่องของการค้ามนุษย์ไม่ได้ให้ความสําคัญว่าจะเป็นป๎ญหา
สังคม เพราะว่าทัศนคติเรื่องการเที่ยวผู้หญิง การเที่ยวเด็ก เป็นปรากฏการณ์ธรรมดาในสายตาของคน
ทั่วไป ยังมีธรรมเนียมปฏิบัติว่าไปไหนก็ไปให้ถึง ก็สืบทอดมาตั้งนาน จริง ๆ ประเด็นไม่ใช่เรื่องของการค้า
มนุษย์ในช่วงนั้นมันเป็นเรื่องของการค้าเด็กมากกว่า เพราะว่าเราจะไม่พูดถึงผู้หญิง ผู้หญิงก็คืออยู่ตาม
สนามหลวง ใต้ต้นไม้ สนามบินอู่ตะเภา พัทยาอะไรต่าง ๆ ป๎ญหามันเกิดกรณีเด็กมันมีความขัดแย้งกับ
มาตรฐานสากลว่าด้วย อนุสัญญาสิทธิเด็กวิ่งมาถึง ๒๐ กว่าปีมาแล้ว มันโดดเด่นขึ้นมาในช่วงตกเขียว ซึ่ง
เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ปกติของสังคมไม่ใช่ว่าเด็กรายหรือสองรายเข้าไปทํางานขายบริการทางเพศตามร้าน
น้ําชา แต่ว่าตกเขียวมีกระบวนการเข้ามาเกี่ยวข้องมีคนมาตกเขียว มีคนมาจองเด็ก หมู่บ้านหนึ่งเด็ก ๒๐
คนไป ๑๕ คนหรือ อันนี้เป็นข้อมูลที่เก็บครั้งแรก ๆ เลย พ.ศ. ๒๕๓๒ เข้าไปสํารวจในหมู่บ้านเด็กที่เรียน
ต่อ ป.๖ จบ ๕ – ๑๐ คนเรียนต่อไม่ถึง ๑๐% ที่เหลือก็ไปล่องใต้มีคนมารับไป ปรากฏการณ์นี้มาจากดอก
คําใต้แถวพะเยา ทะลักมาเชียงรายก็กลายเป็นพื้นที่ที่มีเด็กชาวเขาเป็นชนเผ่า มีเด็กชาติพันธุ์ที่ไม่เรียนต่อ
เยอะมาก เราก็เริ่มทําเรื่องการปูองกัน เพราะว่าฐานข้อมูลเราอยู่ในชุมชนและอยู่ในโรงเรียน คิดว่าทํายังไง
ที่จะปูองกันเด็กผู้หญิงที่จบ ป.๖ แล้ว ตอนนั้นโอกาสในการศึกษาก็มีน้อย พยายามตรึงเด็กให้อยู่ในระบบ
การศึกษาให้ได้อย่างน้อย ๖ ปี เราเชื่อว่าถ้าเด็กอยู่ในระบบการศึกษา ๕ – ๖ ปีอยู่กับครอบครัว ก็น่าจะมี
การคลี่คลาย ทัศนคติ ค่านิยมของเด็กก็น่าจะคลี่คลายด้วย อันนี้เป็นข้อสันนิษฐาน เพราะว่าเราสํารวจ
ปลายทางแล้วไปเก็บข้อมูลเด็กค้าประเวณีแถวภาคใต้ เขาก็บอกว่าเขาอยากเรียนหนังสือ แต่ไม่รู้จะเรียน
ไปทําไม พ่อแม่ไม่มีความเข้าใจว่าอยากให้ลูกเรียนเพื่ออะไร เรียนไปก็ไม่ได้ประโยชน์ ทุนก็ไม่มี เงินก็ไม่มี
ก็ทํางานดีกว่า เป็นเรื่องป๎ญหาตอนช่วงนั้น
๑๐๑