Page 63 - รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
P. 63
รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 63
ในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
รัฐบาลนอร์เวย์จัดทำาและเผยแพร่แผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน
(NAP) ในเดือนตุลาคม 2558 โดยมีสาระสำาคัญ ดังนี้
1. รัฐบาลจะปรับปรุงหลักเกณฑ์เรื่องความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม (CSR) ที่ใช้
กับการบริหารรัฐกิจให้มีความสอดคล้องกันมากขึ้น
2. รัฐบาลจะพิจารณาหลอมรวมทรัพยากรจากผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายที่ให้คำาปรึกษาต่อภาค
ธุรกิจในประเด็นความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม ด้วยการจัดตั้งศูนย์ให้คำาปรึกษากลาง
3. จะรวมหลักสิทธิมนุษยชนสากลไว้ในสัญญาจัดซื้อจัดจ้างและสัญญาต่างๆ ที่เป็นสาธารณะ
4. รัฐบาลจะสร้างหลักประกันว่าการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมถึงสิทธิแรงงาน และ
สภาพการทำางาน จะถูกระบุเป็นเงื่อนไขในข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีและสนธิสัญญา
ด้านการลงทุนทุกฉบับ
5. รัฐบาลจะให้ความสำาคัญกับการสร้างกรอบกติกา การสร้างสถาบัน และการพัฒนากลไก
กฎหมายที่เพียงพอ เพื่อสร้างหลักประกันว่ารัฐบาลของประเทศที่ได้รับเงินช่วยเหลือเพื่อ
การพัฒนาจากนอร์เวย์จะเคารพสิทธิมนุษยชน
6. รัฐบาลจะแสวงความร่วมมือจากนานาประเทศ ในการสร้างหลักประกันว่าผู้ตกเป็นเหยื่อ
การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เลวร้ายและเป็นระบบจะได้เข้าถึงกระบวนการเยียวยาที่มี
ประสิทธิผล และ
7. รัฐบาลจะสนับสนุนงานของสำานักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การ
สหประชาชาติ (Office of the United Nations High Commissioner for Human
Rights – OHCHR) ในการปรับปรุงระบบกฎหมายในประเทศต่างๆ
4.3.6 สวีเดน
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในสวีเดนใช้รูปแบบ “ผู้ตรวจการ” เช่นเดียวกับนอร์เวย์
การดำาเนินการในประเด็นธุรกิจและสิทธิมนุษยชน
ผู้ตรวจการสวีเดนมีอำานาจรับเรื่องร้องเรียน ตรวจสอบเรื่องร้องเรียน เจรจาไกล่เกลี่ย
และฟ้องศาล กรณีที่ภาคธุรกิจถูกร้องว่าเป็นผู้ละเมิดได้ แต่เฉพาะในประเด็นการเลือกปฏิบัติ
ด้านชาติพันธุ์หรือศาสนาเท่านั้น (ethnic or religious discrimination) เช่น บุคคลถูกปฏิเสธงาน
เพราะถูกเหยียดผิว หรือลูกค้าร้านอาหารร้องเรียนว่าถูกเลือกปฏิบัติเพราะชาติพันธุ์ของตน
โดยตำาแหน่งนี้มีชื่อว่า Ombudsman Against Ethnic Discrimination (ผู้ตรวจการต้านการ
เลือกปฏิบัติด้านชาติพันธุ์)