Page 60 - รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
P. 60
60 รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
กฎหมายก่อตั้ง กสม. อินเดีย ให้นิยาม “สิทธิมนุษยชน” ว่า “สิทธิที่เกี่ยวข้องกับชีวิต
ความเท่าเทียม และศักดิ์ศรีส่วนบุคคลซึ่งรัฐธรรมนูญรับประกัน หรือรับประกันในพันธกรณี
ระหว่างประเทศซึ่งบังคับใช้ได้โดยศาลอินเดีย” ดังนั้น จึงเห็นว่า กสม. อินเดีย มีหน้าที่ตามกฎหมาย
ที่จะเน้นการคุ้มครองสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองขั้นพื้นฐานมากกว่าสิทธิทางสังคมและ
สิทธิทางเศรษฐกิจ
กสม. อินเดีย มีกรรมการโดยตำาแหน่งห้าคน สามคนมาจากสถาบันตุลาการ และอีกสองคน
ควรเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์ตรงในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน การคัดเลือก
ประธานกรรมการและกรรมการมาจากคณะกรรมการสรรหา ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
สมาชิกคณะกรรมการสรรหาล้วนแต่มาจากภาคการเมือง รัฐบาลกลางมีหน้าที่ส่งมอบกำาลังคน
และงบประมาณสนับสนุน โครงสร้างดังกล่าวส่งผลให้ กสม. อินเดีย ถูกวิจารณ์ตลอดมาว่า
ขาดความเป็นอิสระ และขาดความหลากหลาย ตั้งแต่ระดับคณะกรรมการลงมา สมาชิกมักเป็น
ข้าราชการที่เกษียณอายุราชการแล้ว หรือข้าราชการระดับกลางที่หมุนเวียนมาทำางานจาก
กระทรวงต่างๆ ขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในประเด็นสิทธิมนุษยชน อีกทั้งยังไม่ได้รับ
การอบรมเมื่อมาทำางาน ส่งผลให้มีภาพลักษณ์เป็นหน่วยงานราชการที่เทอะทะอุ้ยอ้าย (Joshi, 2010)
กสม. อินเดีย มีบทบาทหน้าที่คล้ายคลึงกับ กสม. ไทย โดยเฉพาะการมีอำานาจกึ่งตุลาการ
ในการตรวจสอบข้อเท็จจริง และเสนอแนะต่อรัฐบาล อย่างไรก็ตาม มาตรา 2 (1) (a) ของกฎหมาย
กสม. อินเดีย ระบุอย่างชัดเจนว่า กสม. อินเดีย ไม่มีอำานาจตรวจสอบกรณีร้องเรียนที่เกี่ยวกับ
“บุคลากรของกองทัพ” ซึ่งหมายรวมตั้งแต่ทหารทุกระดับในกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ
และกองกำาลังกึ่งทหาร (paramilitary) ส่งผลให้การทำางานของ กสม. อินเดีย มีข้อจำากัดพอสมควร
เมื่อคำานึงว่า กรณีร้องเรียนเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนจำานวนมากเกี่ยวข้องกับบุคลากรของกองทัพ
การดำาเนินการในประเด็นธุรกิจและสิทธิมนุษยชน
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สถาบันตุลาการของอินเดียมีบทบาทนำาในการคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชนจากการละเมิดของภาคเอกชน เยียวยาผู้ถูกละเมิดสิทธิ และผลักดันการ
เปลี่ยนแปลงในด้านนี้ โดยเฉพาะผ่านกลไกการดำาเนินคดีเพื่อประโยชน์สาธารณะ (Public Interest
Litigation) และการบังคับติดตามคำาพิพากษาในคดีเหล่านี้ แม้ในขณะที่รัฐบาลอินเดียยัง
มิได้ลงนามหรือให้สัตยาบันในข้อตกลงระหว่างประเทศฉบับใดฉบับหนึ่งที่เกี่ยวข้อง (Asian
Centre for Human Rights, 2013) อีกทั้ง กสม. อินเดีย ก็ยังมิได้มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะ
รับมือโดยตรงกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยภาคเอกชน
อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ กสม. อินเดีย ได้เข้ามามีบทบาทในประเด็นสิทธิมนุษยชน
ที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจหลายครั้ง ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีบริษัทแห่งหนึ่งของอินเดียซึ่งเป็น
บริษัทลูกของบริษัทอังกฤษ (National Human Rights Commission of India, 2011) ได้ร่วม