Page 59 - รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
P. 59
รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 59
ในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
จึงได้ข้อสรุปว่า ประเด็นที่ดินจะต้องคลี่คลายในระดับการเมือง ต่อมา ในปี พ.ศ. 2557 Komnas
HAM ได้เริ่มกระบวนการไต่สวนระดับชาติว่าด้วยสิทธิในที่ดินของชนพื้นเมือง (National Inquiry
on Indigeneous People’s Land Rights) โดยคณะกรรมการจะเดินทางไปยังเกาะต่างๆ ใน
อินโดนีเซีย เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ถูกละเมิดสิทธิและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ก่อนจะ
ประมวลผลการไต่สวนเป็นรายงานเสนอประธานาธิบดีในลำาดับต่อไป
ถึงแม้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า “ไม่กล้า” รับมือกับกรณีละเมิดสิทธิที่เกี่ยวข้องกับ
อดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โต Komnas HAM ก็ประสบความสำาเร็จพอควรในแง่ของการไกล่เกลี่ย
เมื่อเกิดข้อพิพาท ตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ คือ กรณีปี ค.ศ. 1993 (พ.ศ. 2536) ที่ชาวบ้าน 300 คน
ในชวาตะวันตกลุกฮือขึ้นประท้วง จากการที่ลายนิ้วมือของพวกเขาถูกนำาไปใช้ร่างเอกสารสิทธิ
ซึ่งถูกขายต่อให้กับบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องการนำาที่ดินไปสร้างสนามกอล์ฟและ
บ้านหรูโดยที่พวกเขาไม่ยินยอม หลังจากที่ชาวบ้านถูกเจ้าหน้าที่ตำารวจจับกุม Komnas HAM
ก็เข้ามามีบทบาทด้วยการลงพื้นที่พัฒนาหลายครั้ง พูดคุยกับชาวบ้านและบริษัท เป็นตัวกลาง
ไกล่เกลี่ยจนสุดท้ายสามารถบรรลุข้อตกลง บริษัทผู้ดำาเนินโครงการยอมจ่ายค่าชดเชยบนฐาน
ของการสูญเสียพืชเศรษฐกิจของชาวบ้าน
อีกกรณีหนึ่งเกิดขึ้นในเมือง เซย์ เลปัน (Sei Lepan) ในสุมาตราเหนือ เมื่อบริษัท
้
นำามันปาล์มบังคับให้ชาวนาปลูกพืชเศรษฐกิจ บีบบังคับให้พวกเขาต้องย้ายออกเพื่อหาอาหาร
และทำาลายบ้านเรือนของชาวบ้าน Komnas HAM รับบทบาทเป็นตัวกลางเจรจา และสุดท้าย
บริษัทยอมมอบที่ดินทำากินและปลูกบ้านใหม่ให้กับชาวบ้าน 88 ครัวเรือนซึ่งถูกไล่ที่
ถึงแม้จะมีกรณีความสำาเร็จดังตัวอย่างข้างต้น Komnas HAM ก็ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์
อย่างต่อเนื่องว่า คณะกรรมการขาดความหลากหลาย (กรรมการเกือบทั้งหมดมาจากจาการ์ตา
ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ) สำานักงานมีทรัพยากรและสาขานอกกรุงจาการ์ตาน้อยเกินไป
จนไม่อาจรับเรื่องร้องเรียนได้อย่างทั่วถึง และบ่อยครั้งที่มิได้ตรวจสอบกรณีร้องเรียนอย่างถูกต้อง
เพียงแต่ “ส่งเรื่อง” ต่อไปยังหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
4.3.3 อินเดีย
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของประเทศอินเดีย (National Human Rights
Commission) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2536 มีสถานะเป็นองค์กรของรัฐภายใต้กฎหมายเฉพาะ
ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐ ใช้รูปแบบ “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ”หรือ กสม.
เป็นรูปแบบการดำาเนินงาน หลังจากมีการก่อตั้ง กสม. อินเดีย ก็ได้มีการก่อตั้งคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนระดับมลรัฐ (State Human Rights Commissions หรือ SHRCs) ขึ้นใน 20 มลรัฐ
ทั่วประเทศ