Page 65 - รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
P. 65
รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 65
ในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
การวิเคราะห์ช่องว่างระหว่างนโยบายของบริษัทกับการปฏิบัติจริง DIHR ทำางานร่วมกับบริษัท
ด้วยการประเมินผลประทบด้านสิทธิมนุษยชนทั้งที่เกิดขึ้นจริงและอาจจะขึ้นในอนาคตในพื้นที่
ดำาเนินการของบริษัทที่อยู่ใน 7 ประเทศ ซึ่งได้แก่ ประเทศโคลัมเบีย ไนจีเรีย แองโกล่า ศรีลังกา
รัสเซีย คาซัคสถาน และอุซเบกิสถาน โดยใช้คำาถามจากแบบประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน
ซึ่งประกอบด้วยประเด็นสำาคัญ 8 ประการ (Jørgensen, n.d.)
บริษัทนี้เป็นบริษัทแรกที่ DIHR ดำาเนินการร่วมกันในการตรวจสอบและประเมิน
ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน ระยะแรกเน้นไปที่แรงงานทั้งของบริษัทเองและของคู่ค้า ระหว่าง
การประเมินมีการให้ความสำาคัญกับการจัดหาวัตถุดิบและห่วงโซ่อุปทานมากขึ้น คณะทำางาน
ของ DIHR ได้สัมภาษณ์เชิงลึกกับหัวหน้าสำานักงานของแต่ละประเทศ รวมทั้งผู้จัดการฝ่ายต่างๆ
ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่ ฝ่ายทรัพยากรบุคคล การตลาด กฎหมาย ความปลอดภัยและสุขภาวะ
สิ่งแวดล้อม และฝ่ายจัดซื้อและห่วงโซ่อุปทาน เยี่ยมโรงงานและศูนย์กระจายสินค้าเพื่อสัมภาษณ์
พนักงานแผนกต่างๆ ทั้งที่เป็นสหภาพแรงงานและไม่ได้เป็น พบกับผู้จัดหาวัตถุดิบขั้นสุดท้าย
(tier-1 suppliers) เพื่อสัมภาษณ์ฝ่ายบริหารจัดการและพนักงาน พบกับเกษตรกรที่จัดหาวัตถุดิบ
ให้กับบริษัท สัมภาษณ์ชุมชนที่อยู่รอบๆ ทำางานร่วมกับตัวแทนสหภาพการค้าของท้องถิ่น
รัฐบาล ชุมชนท้องถิ่น เครือข่ายประชาสังคม องค์กรระหว่างประเทศ เป็นต้น (Danish Institute
for Human Rights, n.d.)
แนวทางและกระบวนการดำาเนินการ
จากหลักปฏิบัติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ (UN Guiding
Principles on Business and Human Rights) บริษัทต้องประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน
บริษัทเลือกรูปแบบการประเมินของ DIHR ในการประเมินแต่ละส่วนประกอบด้วย 4 ขั้นตอน
ที่ใช้เครื่องมือที่พัฒนามาเฉพาะด้าน ดังนี้
1) กำาหนดกรอบความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนของแต่ละประเทศ ส่วนหนึ่งของขั้นตอน
การวางแผน จัดทำาข้อมูลเบื้องต้นของแต่ละประเทศ และกำาหนดกรอบของแบบสอบถาม
ซึ่งรวบรวมโดยคณะทำางานประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อระบุผู้มีส่วนได้เสีย
ที่จะสัมภาษณ์ได้ถูกต้อง โดยบริษัทจะเป็นผู้ประสานงาน
2) ประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้วและอาจเกิดขึ้นอีก เป็นช่วงที่คณะทำางานประเมิน
ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ 2 คนและที่ปรึกษาท้องถิ่น
ของ DIHR และผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนจากสำานักงานใหญ่ของบริษัท เข้าไปยัง
พื้นที่ต่างๆ เพื่อสัมภาษณ์เก็บข้อมูล การสัมภาษณ์ผู้จัดการท้องถิ่นของบริษัทเป็นไป
ตามแบบประเมินตนเองของ DIHR ซึ่งประกอบด้วยด้านต่างๆ 8 ด้าน ได้แก่
1) ทรัพยากรบุคคล 2) สุขภาวะและความปลอดภัย 3) การจัดการด้านความปลอดภัย
4) ธรรมาภิบาลของธุรกิจ 5) ผลกระทบต่อชุมชน 6) การจัดซื้อ 7) การจัดหาวัตถุดิบ