Page 66 - รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
P. 66

66          รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                   ในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน





                            8) คุณภาพสินค้าและการตลาด รวมทั้งมีการปรับแบบสอบถามให้สอดคล้องกับ

                            ผู้ที่เกี่ยวข้องกลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร ชุมชนท้องถิ่น และสัมภาษณ์บุคคล
                            ภายนอกที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์กรภาคประชาสังคม

                         3) การดำาเนินการต่อข้อค้นพบจากข้อค้นพบ DIHR จัดเตรียมร่างรายงานจากการตรวจสอบ

                            และประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน ในรายงานจะจัดประเภทตามพื้นที่การ
                            ดำาเนินงานและอธิบายสถานการณ์พื้นฐานของพื้นที่ปฏิบัติการ รวมทั้งขอบเขตของ

                            การประเมิน ข้อค้นพบจากการประเมินมาจากข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้เสีย
                            กลุ่มต่างๆ ในพื้นที่ซึ่งต้องมีการแก้ไขปัญหา ตามที่ DIHR ได้ให้ข้อแนะนำา ร่างรายงานนี้

                            จะส่งให้กับตัวแทนของประเทศต่างๆ เพื่อเพิ่มเติมข้อมูลและตรวจสอบ การจัดทำารายงาน
                            เสร็จสิ้นลง เมื่อทั้งคณะทำางานในแต่ละประเทศ สำานักงานใหญ่ และ  DIHR เห็นชอบ

                            ร่วมกันต่อรายงาน

                         4) ติดตามผลและสื่อสารว่ามีการจัดการปัญหาอย่างไร ในส่วนสุดท้ายของรายงานเป็น
                            การจัดทำาแผนปฏิบัติการเบื้องต้น เมื่อทุกฝ่ายเห็นด้วยกับเนื้อหาและคำาแนะนำาของ

                            แผนปฏิบัติการแล้ว จึงมีการจัดทำาแผนเพื่อนำาข้อเสนอไปดำาเนินการต่อในแต่ละประเทศ
                            ในแผนปฏิบัติการจะระบุผู้ที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน บทบาทของสำานักงานใหญ่ของ

                            บริษัท คือ การติดตามการปฏิบัติงานของแต่ละประเทศ (รายการอ้างอิงนี้สำานักงาน กสม.
                            ขอสงวนสิทธิ์ในการปกปิดแหล่งที่มา เนื่องจากอาจส่งผลกระทบหรืออาจสร้าง

                            ความเสียหายต่อบุคคล/บริษัท/องค์กร หากต้องการทราบแหล่งที่มาดังกล่าว
                            ติดต่อได้ที่สำานักงานฯ)


                         ผลลัพธ์

                         ข้อค้นพบจากคณะทำางานประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนส่งผลต่อการปฏิบัติของบริษัท

                  เนื่องจากแสดงให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมทั้งในระดับปฏิบัติการและระดับองค์กร ตัวอย่างประเด็น
                  ที่สำาคัญ เช่น ในรายงานเปิดเผยว่า เงินเดือนของพนักงานในบริษัทจ้างงานภายนอกและพนักงาน
                          ่
                  ชั่วคราวตำากว่าค่าแรงพื้นฐานของประเทศต่างๆ ตัวแทนของบริษัทจึงได้เริ่มสำารวจและดำาเนินการ
                  แก้ปัญหาดังกล่าว ด้านผลกระทบต่อชุมชน รายงานระบุว่า กลไกเยียวยาชุมชนของบริษัทไม่สามารถ

                  ดำาเนินการได้จริง ด้านการจัดหาวัตถุดิบ แม้จะมีแนวโน้มในทางบวก แต่พบว่าระบบติดตาม
                  ด้านสิทธิมนุษยชนและมาตรฐานแรงงานขาดหายไปในระดับเกษตรกรรม และฝ่ายจัดหาวัตถุดิบ

                         กระบวนการประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนนี้เป็นมุมมองเบื้องต้นในการพิสูจน์
                  พันธกิจของบริษัทที่จะคุ้มครองสิทธิมนุษยชน จากการที่บริษัทแสดงให้เห็นถึงภาพรวมของ

                  สิทธิมนุษยชนในมิติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำาเนินงานของบริษัท ทั้งในระดับปฏิบัติการและ
                  ระดับห่วงโซ่อุปทาน

                         สิ่งที่สำาคัญคือ คณะทำางานได้นำาเสนอการแก้ปัญหาที่เป็นรูปธรรมซึ่งเป็นการร่วมมือกับ
                  ตัวแทนของบริษัทในประเทศต่างๆ ทั้งการสร้างความตระหนักและพัฒนาเครื่องมือที่จะช่วยคุ้มครอง

                  สิทธิมนุษยชน
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71