Page 67 - รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
P. 67
รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 67
ในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
ข้อวิพากษ์
หลังจากที่บริษัทแห่งนี้เผยแพร่รายงานของตนเองต่อสาธารณะ มีการวิพากษ์วิจารณ์
จากองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนต่างๆ ว่าการดำาเนินการของบริษัทเป็นเพียงการประชาสัมพันธ์
ของบริษัทมากกว่าจะเป็นความตั้งใจจริงของบริษัท เห็นได้จากการเลือกตรวจสอบเฉพาะ
้
บางประเด็นและบางพื้นที่ปฏิบัติการ โดยเฉพาะผลกระทบจากอุตสาหกรรมผลิตนำาดื่มบรรจุขวด
ของบริษัท (PSI, 2013)
DIHR และบริษัทได้ตอบคำาถามว่า การจัดทำารายงานเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยให้บริษัท
ได้ตระหนักถึงสิทธิมนุษยชนในเชิงลึกมากยิ่งขึ้น รายงานทำาให้บริษัทมีโอกาสแลกเปลี่ยนกับ
ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง และจะมีการพัฒนาร่วมกันต่อไป (รายการอ้างอิงนี้สำานักงาน กสม.
ขอสงวนสิทธิ์ในการปกปิดแหล่งที่มา เนื่องจากอาจส่งผลกระทบหรืออาจสร้างความเสียหาย
ต่อบุคคล/บริษัท/องค์กร หากต้องการทราบแหล่งที่มาดังกล่าวติดต่อได้ที่สำานักงานฯ)
4.4.2 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสาธารณรัฐเกาหลีเสนอแนวทาง
ปรับปรุงชุดหลักเกณฑ์ OECD
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสาธารณรัฐเกาหลีออก “ข้อเสนอต่อรัฐว่าด้วยบทบาทของ
ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนระดับชาติเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในภาคธุรกิจ” ในปี พ.ศ. 2554 (Recom-
mendation to the Government on the Role of the National Contact Point to Promote
Human Rights in Business) ซึ่งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนระดับชาติหรือ NCP นั้น เป็นกลไกที่รัฐต้อง
จัดให้มีตามแนวปฏิบัติสำาหรับบรรษัทข้ามชาติของ OECD (OECD Guidelines for Multinational
Enterprises)
กสม. เกาหลีใต้ ทบทวนการทำางานของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนต่างด้าว
(Committee of Foreign Investment) ซึ่งรับบทบาทเป็น NCP ของเกาหลีใต้ พบว่า สมาชิกส่วนใหญ่
ของคณะกรรมการดังกล่าวเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐ ขาดกรอบการทำางานร่วมกับ
ภาคเอกชน ส่งผลให้ในทางปฏิบัติ ฝ่ายหนึ่งในกระทรวงเศรษฐกิจความรู้ (Knowledge Econo-
my Ministry) เป็นผู้ทำาหน้าที่ NCP แทนคณะกรรมการ นอกจากนี้ คณะกรรมการยังได้รับเรื่อง
ร้องเรียนให้ตรวจสอบเพียง 8 กรณี และออกข้อเสนอแนะเพียงกรณีเดียว ตั้งแต่ก่อตั้งในปี
พ.ศ. 2544 ด้วยเหตุนี้ กสม. เกาหลีใต้ จึงสรุปว่า NCP มิได้ทำางานอย่างมีประสิทธิผลในการ
ส่งเสริมแนวปฏิบัติ OECD และเสนอว่าคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนต่างด้าวควรร่วมมือ
กับผู้เกี่ยวข้องภาคเอกชนและผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ อย่างใกล้ชิดมากขึ้น จัดทำาและเผยแพร่
กระบวนการรับเรื่องและดำาเนินการให้เป็นสาธารณะมากขึ้น และปรับปรุงการเข้าถึง ความโปร่งใส
และความรับผิดของคณะกรรมการ ในฐานะ NCP ของเกาหลีใต้