Page 61 - รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
P. 61

รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  61
                                                                           ในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน





                     ทุนกับรัฐบาลรัฐโอริสสา (joint venture) ดำาเนินโครงการก่อสร้างโรงผลิตอะลูมินาและเหมืองแร่

                     บอกไซต์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ต่อมา ชาวบ้านร้องเรียนขอให้รัฐเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้าง
                     เหมืองแร่บอกไซต์  เนื่องจากบริษัทมาบังคับไล่ที่และก่อความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อม

                     อย่างใหญ่หลวง  ต่อมา ในปี พ.ศ. 2552 กสม. อินเดีย ส่งรายงานต่อรัฐบาลของมลรัฐโอริสสา
                                                                                                      ้
                     ยืนยันข้อค้นพบว่า การประกอบธุรกิจเหมืองแร่ของบริษัทมีส่วนก่อมลพิษทางอากาศและนำา
                     คุกคามสิทธิมนุษยชนของชนพื้นเมืองในพื้นที่  และเรียกร้องให้รัฐโอริสสาจัดทำารายงาน
                     ฉบับสมบูรณ์ แจกแจงรายละเอียดการร่วมทุนกับบริษัทดังกล่าว  ต่อมา ในเดือนเมษายน 2556

                     ศาลฎีกาอินเดียพิพากษายืนคำาสั่งห้ามทำาเหมืองในพื้นที่ และระบุว่าสิทธิของชุมชนจะต้อง
                     ได้รับการพิจารณาเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาของรัฐ





                     4.3.4                 เนเธอร์แลนด์



                             สถาบันสิทธิมนุษยชนเนเธอร์แลนด์ (Netherlands Human Rights Institute) ก่อตั้งขึ้น
                     ในปี พ.ศ. 2550 ตามกฎหมายที่ผ่านโดยรัฐสภา หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีผู้ตรวจการแผ่นดิน
                     (National Ombudsman) ทำาหน้าที่คุ้มครองสิทธิมนุษยชนจากการละเมิดโดยรัฐ สถาบัน

                     แห่งนี้มีจุดกำาเนิดในปี พ.ศ. 2548 เมื่อผู้ตรวจการแผ่นดิน องค์กรคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

                     (Dutch Data Protection Authority - Dutch DPA) คณะกรรมาธิการการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม
                     (Equal Treatment Commission - ETC) และศูนย์ศึกษาและข้อมูลสิทธิมนุษยชนแห่งเนเธอร์แลนด์
                     (Netherlands Human Rights Study and Information Centre - SIM)  ณ มหาวิทยาลัยอูเทรช

                     (Utrecht University) ร่วมกันออกรายงาน ชื่อ Action to the Word เสนอสามรูปแบบในการ

                     “ถมช่องว่าง”  การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในเนเธอร์แลนด์ ตามชุดหลักการปารีส ได้แก่
                                    1) การสร้างเวทีความร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการ (informal platform) ระหว่าง

                                      หน่วยงานต่างๆ
                                    2) การจัดตั้งหน่วยงานใหม่ หรือ

                                    3) การมอบหมายภาระหน้าที่ของหน่วยงานสิทธิมนุษยชนแห่งชาติให้กับองค์กรที่มี
                                      อยู่เดิมองค์กรใดองค์กรหนึ่งเป็นผู้ดูแล

                     โดย ในปี พ.ศ. 2549 รัฐสภาเนเธอร์แลนด์ก็ลงมติเห็นชอบให้รัฐบาลดำาเนินการจัดตั้งองค์กรใหม่

                     (Goldschmidt, 2012)
                             ต่อมา ในปี พ.ศ. 2552  รัฐบาลตัดสินใจยุบรวมคณะกรรมาธิการการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม

                     (Equal Treatment Commission - ETC) เข้าไปในโครงสร้างของสถาบันใหม่ ส่งผลให้สถาบัน
                     สิทธิมนุษยชนเนเธอร์แลนด์ปัจจุบันรับภารกิจของ ETC มาดำาเนินการทั้งหมด อันได้แก่ การบังคับใช้

                     กฎหมายการปฏิบัติที่เท่าเทียม (equal treatment legislation) การรับเรื่องร้องเรียน และตัดสิน
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66