Page 58 - รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
P. 58

58          รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                   ในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน





                  ถาวรดังกล่าวจัดตั้งตามรูปแบบของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงแห่งชาติ ซึ่งซูฮาร์โต

                  แต่งตั้งเป็นคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อสอบสวนกรณีฆาตกรรมหมู่ ในดิลี  ด้วยเหตุนี้ Komnas
                  HAM จึงถูกเพ่งเล็งและวิพากษ์วิจารณ์จากผู้สังเกตการณ์ตั้งแต่ต้นว่า จัดตั้งเพียงเพื่อลดแรงกดดัน

                  จากต่างชาติต่อรัฐบาลซูฮาร์โตและกองทัพ
                         ตลอดทศวรรษ 1990  Komnas HAM ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่า มิได้แสดง

                  บทบาทที่สำาคัญใดๆ ต่อกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ดำาเนินไปอย่างกว้างขวางในอินโดนีเซีย
                  ส่วนหนึ่งจากการที่ไม่มีอำานาจสืบสวนสอบสวนใดๆ ในมือ (Carver, 2004) อย่างไรก็ดี หลังจากที่

                  ขบวนการเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยโค่นซูฮาร์โตลงจากอำานาจ ในปี ค.ศ. 1998 (พ.ศ. 2541)
                  พรรคฝ่ายค้าน คือ พรรคประชาธิปไตยอินโดนีเซีย (Indonesian Democratic Party หรือ PDI-P)

                  ขึ้นครองอำานาจ ก็ได้มีการแก้กฎหมายให้ Komnas HAM มีอำานาจในการสืบสวนสอบสวน
                  รวมถึงอำานาจในการเรียกพยานเข้าให้ปากคำา และกระบวนการรับเรื่องร้องเรียนอย่างเป็นระบบ

                  นับจากนั้นเป็นต้นมา Komnas HAM ก็ได้ปรับบทบาทการทำางานเป็นเชิงรุกมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง




                         การดำาเนินการในประเด็นธุรกิจและสิทธิมนุษยชน


                         รายงาน Komnas HAM ระบุว่า ระหว่างเดือนกันยายน 2550 ถึงเดือนกันยายน 2551

                  ภาคธุรกิจในอินโดนีเซียเป็นภาคส่วนที่มีส่วนละเมิดสิทธิมนุษยชนมากเป็นอันดับสอง
                  รองจากตำารวจ  ในช่วงเวลาดังกล่าวมีเรื่องร้องเรียนเข้ามายัง Komnas มากถึง 1,009 กรณีที่

                  เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจ  ส่วนใหญ่เป็นประเด็นที่ดิน พื้นที่ทำากิน เหมืองแร่ สิ่งแวดล้อม แรงงาน และ
                  อาชญากรรม กรณีร้องเรียนส่วนใหญ่มาจากเกาะชวา ตามมาด้วยสุมาตรา สุลาเวสี บาหลี และ

                  กาลิมันตัน (Hartono, 2013)  ข้อเท็จจริงที่ว่า Komnas HAM ได้รับเรื่องร้องเรียนน้อยมาก
                  จากติมอร์ตะวันออกและอิเรียนจายา (ส่วนหนึ่งของจังหวัดปาปัว) สองดินแดนที่เกิดความขัดแย้ง

                  ระหว่างชนพื้นเมืองกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ และระหว่างชนพื้นเมืองกับบริษัทอินโดนีเซีย  โดยเฉพาะ
                  ประเด็นที่ดินและแรงงานอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอินโดนีเซีย

                  สะท้อนว่า Komnas HAM ยังเข้าไม่ถึงกลุ่มประชากรที่เปราะบางต่อการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
                  มากที่สุด (Carver, 2004)

                         กรณีร้องเรียนเกี่ยวกับธุรกิจที่ Komnas HAM จัดการมากที่สุด คือ ข้อพิพาทเกี่ยวกับ

                  การใช้ที่ดิน  หลังจากที่อินโดนีเซียได้รับเอกราช ผู้ครอบครองที่ดินจะต้องไปออกโฉนดเพื่อยืนยัน

                  ความเป็นเจ้าของอย่างเป็นทางการ  แต่หลายคนไม่ทราบว่าจะต้องทำาเช่นนี้ หรือไม่อาจพิสูจน์
                  ความเป็นเจ้าของได้  ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น คือ บริษัทขนาดใหญ่หลายแห่งได้พื้นที่ของชาวนาไป
                  จำานวนมาก  ในปีแรกๆ Komnas HAM สนับสนุนให้ชาวนาฟ้องร้องคดีเหล่านี้ต่อศาล แต่พบว่า

                  ส่วนใหญ่ชาวนาจะแพ้คดีเนื่องจากไม่มีโฉนด ในขณะที่บริษัทที่ถูกฟ้องมีโฉนด Komnas HAM
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63