Page 57 - รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
P. 57

รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  57
                                                                           ในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน





                             กรรมาธิการมีหน้าที่ประสานงานกับองค์กรระหว่างประเทศ หน่วยงานของรัฐ และองค์กร

                     สาธารณะซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน องค์กรเหล่านี้มีอาทิ สหภาพยุโรป
                     สภายุโรป กระทรวงอื่นๆ รัฐสภาสหพันธรัฐ กลุ่มต่างๆ ในรัฐสภา รัฐ (Länder) คณะกรรมการ

                     ประสานงานการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม มูลนิธิการเมือง มูลนิธิเอกชน องค์กรสาธารณะ และ
                     องค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆ




                             การดำาเนินการในประเด็นธุรกิจและสิทธิมนุษยชน


                             กรรมาธิการแห่งรัฐบาลสหพันธรัฐเพื่อนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน และสถาบันสิทธิมนุษยชน
                     เยอรมนีต่างมิได้มีหน้าที่รับหรือสอบสวนเรื่องร้องเรียนกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชนในเยอรมนี

                     ไม่ว่าภาคเอกชนจะมีส่วนเกี่ยวข้องหรือไม่ อีกทั้งยังมิได้มีหน้าที่เสนอข้อแนะนำาหรือตำาหนิ

                     หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อกรณีดังกล่าว เนื่องจากการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในเยอรมนีนั้น
                     โดยหลักการเป็นหน้าที่ของศาล
                             ภายใต้ระบบกฎหมายเยอรมัน ใครก็ตามที่เชื่อว่า สิทธิของตนถูกละเมิดย่อมมีสิทธิ

                     ในการร้องเรียนต่อศาล ตามมาตรา 19 (4) ของกฎหมายพื้นฐาน (Basic Law) นอกจากนี้ รัฐบาล

                     ยังมีหน่วยงานและองค์กรต่างๆ รวมถึง คณะกรรมการรับเรื่องร้องเรียน (petition committees)
                     และกรรมาธิการด้านกิจการพลเมือง ทำาหน้าที่เป็นศูนย์รับเรื่องร้องเรียนในประเด็นสิทธิมนุษยชน
                     ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนดังกล่าวมีสถานะ “ผู้ตรวจการ” (Ombudsperson)

                             สถาบันสิทธิมนุษยชนเยอรมนีเป็นองค์กรเจ้าภาพหลักองค์กรหนึ่งที่ผลักดันกระบวนการ

                     จัดทำาแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (National Action Plan on Business
                     and Human Rights หรือ NAP) ของเยอรมนี และเป็นผู้จัดทำารายงานการประเมินข้อมูลพื้นฐาน
                     (baseline assessment) สำาหรับกระบวนการ NAP ซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่ในเดือนพฤษภาคม 2558

                     ในกระบวนการประเมินดังกล่าว สถาบันฯ มีส่วนร่วมโดยตรงกับภาคธุรกิจ ภาครัฐ และภาคประชาสังคม

                             สถาบันฯ คาดว่า NAP ของเยอรมนีจะแล้วเสร็จและประกาศใช้  ในปี พ.ศ. 2559




                     4.3.2                 อินโดนีเซีย


                             คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของประเทศอินโดนีเซีย (National Commission on

                     Human Rights หรือย่อว่า Komnas HAM) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1993 (พ.ศ. 2536) ในสมัย

                     ประธานาธิบดีซูฮาร์โต เพียงหนึ่งสัปดาห์ก่อนการประชุมโลกว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (World
                     Conference on Human Rights) ในกรุงเวียนนา ออสเตรีย การก่อตั้ง Komnas HAM มีขึ้นหลังจาก
                     รัฐบาลอินโดนีเซียได้เผชิญกับแรงกดดันอย่างหนักและยาวนานกว่า 18 เดือน หลังจากที่กองทัพ

                     ฆ่าสังหารหมู่ผู้ประท้วงโดยสันติในเมืองดิลี รัฐติมอร์ตะวันออก (Carver, 2004) โดยคณะกรรมการ
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62