Page 45 - รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
P. 45

รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  45
                                                                           ในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน





                             2. การทำางานร่วมกับภาคเอกชน ด้วยการจัดทำานโยบายด้านสิทธิมนุษยชนที่ดีและ

                                การปฏิบัติให้กับบรรษัทข้ามชาติโดยตรง ตัวอย่างเช่น ผ่านการตรวจสอบนโยบาย
                                การประเมินผลกระทบ ฝึกอบรมและมีบริการให้คำาปรึกษาเป็นรายบริษัท

                             3. ในเดนมาร์ก ทำางานร่วมกับรัฐในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในด้านธุรกิจ ตัวอย่างเช่น
                                การศึกษาเบื้องต้นว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของเดนมาร์ก และทำางานร่วมกับ

                                บริษัทเดนมาร์กและภาคส่วนอื่นๆ ในประเด็นที่เกี่ยวข้อง
                             4. ทำางานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆ เพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชนให้ครอบคลุม

                                ในประเด็นที่องค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆ เกี่ยวข้อง รวมทั้งทำาให้บริษัทพิจารณาถึง
                                ประเด็นสิทธิมนุษยชนในโครงการลงทุนทางสังคมต่างๆ (Danish Institute for

                                Human Rights, 2015)

                             ทุกปีสถาบันจะจัดทำารายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในเดนมาร์ก รวมถึงข้อแนะนำา

                     ในการปรับปรุงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในเดนมาร์ก ปัจจุบันได้เพิ่มเติมบทหนึ่งของรายงาน

                     ที่มีเนื้อหาว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนลงไปด้วย (International Coordinating Committee
                     of National Human Rights Institutions, 2013)

                             นอกจากนี้ ยังมีการจัดทำาแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (National
                     Action Plan : NAP) แล้วเสร็จตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 โดยเป็นความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลเดนมาร์ก

                     สภาธุรกิจเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคมเดนมาร์ก (The Danish Council for CSR) สถาบัน
                     สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  สภาและองค์กรภาคประชาสังคม

                             การจัดทำาแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (NAP) ของเดนมาร์ก

                     ได้หยิบยกหลักปฏิบัติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งประกอบด้วย
                     หลักการที่สำาคัญ 3 ด้าน คือ คุ้มครอง เคารพ และเยียวยา มาใช้เป็นแนวทาง เจตนารมณ์ของ

                     แผนปฏิบัติการแห่งชาติ คือ นำาเสนอภาพรวมเกี่ยวกับการนำาเอาหลักปฏิบัติว่าด้วยธุรกิจกับ
                     สิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติมาใช้ในประเทศเดนมาร์ก ซึ่งมุ่งไปที่การคุ้มครองและ

                     ลดทอนผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนจากการดำาเนินการของบริษัทเอกชนสัญชาติเดนมาร์ก
                     ทั้งในและนอกประเทศ

                             โครงสร้างของแผนปฏิบัติการครอบคลุมหลักการสำาคัญ 3 ประการของหลักปฏิบัติ

                     ขององค์การสหประชาชาติ โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ สรุปหลักปฏิบัติว่าด้วยธุรกิจและ
                     สิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ ข้อแนะนำาของสภาธุรกิจเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม
                     เดนมาร์ก สิ่งที่รัฐบาลเดนมาร์กได้ดำาเนินการไปแล้ว และแผนการในอนาคต

                             ตัวอย่างผลการดำาเนินงานของรัฐบาลเดนมาร์ก เช่น รัฐบาลได้รณรงค์และเผยแพร่

                     ข้อมูลเกี่ยวกับหลักปฏิบัติขององค์การสหประชาชาติแก่บริษัทและองค์กรภาคประชาสังคมต่างๆ
                     จัดทำาคู่มือธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนเพื่อเป็นแนวปฏิบัติแก่บริษัท กำาหนดให้บริษัทขนาดใหญ่และ
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50