Page 47 - รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
P. 47
รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 47
ในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายของสหภาพยุโรป (EU Directive 2000/43/EC, 2004/113/EC, 2006/
54/EC) คณะกรรมาธิการยุโรปได้ให้คำาอธิบายว่า เป็นองค์กรที่ใช้เวลาและทรัพยากรจากการทำา
กิจกรรมต่างๆ ที่สนับสนุนการปฏิบัติที่ดีในองค์กร สร้างการตระหนักเรื่องสิทธิ พัฒนาความรู้
ที่อยู่บนฐานของความเท่าเทียมและไม่เลือกปฏิบัติ และให้คำาปรึกษาทางกฎหมายและความช่วยเหลือ
ต่อเหยื่อของการเลือกปฏิบัติในระดับปัจเจกบุคคล ซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายของประเทศเดนมาร์ก
ที่ว่าด้วยความเสมอภาคและไม่เลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากเชื้อชาติ เพศ และชาติพันธุ์ (Equinet
Secretaria, n.d.) DIHR มีหน้าที่ช่วยเหลือเหยื่อจากการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ และชาติพันธุ์
(European Commission against Racism and Intolerance (ECRI), n.d.)
สำาหรับการละเมิดสิทธิที่เกิดจากภาคธุรกิจ ประเทศเดนมาร์กมีการจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ย
และจัดการกับข้อพิพาทว่าด้วยความรับผิดชอบของธุรกิจ (The Mediation and Complaints-
Handling Institution for Responsible Business Conduct) ซึ่งรับเรื่องร้องเรียนจากการ
ดำาเนินงานของธุรกิจ โดยวางอยู่บนฐานของแนวปฏิบัติสำาหรับบรรษัทข้ามชาติของ Organisation
for Economic Co-operation and Development หรือ OECD และหลักปฏิบัติว่าด้วยธุรกิจ
และสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งการก่อตั้งองค์กรนี้เป็นไปตามหลักการข้อที่ 31
ในขั้นแรก ศูนย์ฯ จะให้เวลาบริษัทแก้ไขปัญหาภายในสองเดือนโดยไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง
เพื่อสร้างแรงจูงใจให้แก่บริษัท หากตกลงกันได้ศูนย์จะถือว่าสิ้นสุด แต่จะมีการเข้าไปตรวจสอบว่า
ข้อตกลงระหว่างสองฝ่ายเป็นไปตามหลักปฏิบัติของ OECD และหลักปฏิบัติว่าด้วยธุรกิจและ
สิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ และมีการเผยแพร่ผลต่อสาธารณะหรือไม่ โดยไม่ระบุชื่อ
หากทั้งสองฝ่ายตกลงกันไม่ได้ ศูนย์ฯ จะเสนอตัวเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยและตรวจสอบ
ข้อเท็จจริง สถาบันสิทธิมนุษยชนเดนมาร์กจะทำาหน้าที่ให้คำาปรึกษาทางกฎหมาย และข้อบังคับต่างๆ
ที่ว่าด้วยหลักการความเสมอภาค ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้คำาปรึกษาทางกฎหมาย การจัด
ตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณา (Business & Human Rights Resource Centre, n.d.)
ข้อตกลงโดยสมัครใจระหว่างองค์กรหรือหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชน
ของรัฐกับเอกชน เฉพาะกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนของเอกชน
สถาบันสิทธิมนุษยชนเดนมาร์ก ได้จัดทำา “ตัวชี้วัดด้านสิทธิมนุษยชนสำาหรับภาคธุรกิจ”
(Human Rights Indicators for Business) ซึ่งเป็นดัชนีด้านสิทธิมนุษยชนกับธุรกิจในฐานข้อมูล
กว่า 1,000 ตัวชี้วัด เพื่อให้บริษัทต่างๆ และผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ สามารถประเมินนโยบายของบริษัท
กระบวนการ และการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนได้ ดัชนีชี้วัดเหล่านี้ประเมินการเคารพ
สิทธิมนุษยชนตามที่มีการนิยามในระดับนานาชาติ มีการพัฒนาเครื่องมือเป็นระยะเวลา 5 ปี
โดยมีธุรกิจเอกชน องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน 70 แห่ง และนักวิจัย 35 หน่วยงาน ร่วมดำาเนินการ
และให้คำาแนะนำา ตัวชี้วัดดังกล่าวเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตเมื่อปี พ.ศ. 2548 โดยสามารถแบ่ง
เป็น 8 ด้านหลัก ดังนี้