Page 26 - รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
P. 26

26          รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                   ในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน





                         ในพื้นที่รอยต่อระหว่างจังหวัดพิจิตรและเพชรบูรณ์ซึ่งเป็นที่ตั้งของเหมืองแร่ทองคำา

                         แห่งหนึ่งของบริษัทไทย ซึ่งเป็นบริษัทลูกของผู้ประกอบการสัญชาติต่างด้าว ชาวบ้านที่
                         ได้รับผลกระทบจากการดำาเนินงานของเหมือง ถูกบริษัทฯ แจ้งความดำาเนินคดีในข้อหา

                         หมิ่นประมาทจากการที่ไปยื่นร้องเรียนต่อสถานทูต โดยอ้างว่าเป็นการให้ข้อมูลเท็จ
                         เกี่ยวกับผลกระทบจากการทำาเหมืองทำาให้บริษัทได้รับความเสียหาย  นอกจากนี้ ยังส่ง

                         จดหมายถึงคณบดีของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เตือนอาจารย์มหาวิทยาลัยให้หยุด
                         เผยแพร่ข้อมูลต้านเหมือง (ประชาไท, 2559)


                         กรณีกิจการเหมืองแร่ทองคำาของบริษัทผู้ประกอบการธุรกิจเหมืองแร่ทองคำา ซึ่งเป็น

                         บริษัทในเครือของบริษัทจำากัดมหาชนรายหนึ่ง ได้รับประทานบัตรการทำาเหมืองแร่
                         ทองคำา สำาหรับสำารวจและทำาเหมืองแร่ทองคำา จังหวัดเลย หลังจากความพยายาม
                         ส่งเสริมการขยายตัวของอุตสาหกรรมโดยหวังผลให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ

                         ของประเทศของรัฐบาล  นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 ภายหลังการสำารวจและจัดเตรียม

                         พื้นที่บริษัทดังกล่าวได้เริ่มเปิดดำาเนินกิจกรรมเหมืองอย่างเป็นทางการในเดือน
                         กันยายน 2549  และดำาเนินการมาจนถึงปัจจุบัน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามีการ
                         ร้องเรียนจากประชาชนถึงความเดือดร้อนและผลกระทบ  รวมถึงข้อวิตกถึง

                         สารโลหะหนักและสารอันตรายอื่นๆ ที่อาจแพร่กระจายออกมาปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม

                         ผ่านกิจกรรมต่างๆของเหมืองแร่ทองคำา จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของ
                         ประชาชนในพื้นที่ นอกจากปัญหาเรื่องสารพิษจากเหมืองที่แพร่กระจายแล้ว ยังมี
                         ปัญหาต่อเนื่องอื่นๆ โดยเฉพาะการขนแร่เข้าออกจากพื้นที่  เมื่อปี พ.ศ. 2557 มีกรณีที่

                         ประชาชนในพื้นที่ถูกชายฉกรรจ์รุมทำาร้ายและใช้ความรุนแรงในขณะที่มีการขนแร่

                         ของบริษัท (รายการอ้างอิงนี้ สำานักงาน กสม. ขอสงวนสิทธิ์ในการปกปิดแหล่งที่มา
                         เนื่องจากอาจส่งผลกระทบหรืออาจสร้างความเสียหายต่อบุคคล/บริษัท/องค์กร
                         หากต้องการทราบแหล่งที่มาดังกล่าวติดต่อได้ที่สำานักงานฯ) รวมถึง การแจ้งความ

                         ดำาเนินคดีกับเยาวชน อายุ 14 ปี จากชุมชนที่ได้รับผลกระทบ หลังจากการนำาเสนอ

                         ข่าวชุมชนทางสถานีโทรทัศน์


                         อย่างไรก็ตาม การละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชนในประเทศไทย ไม่จำากัด
                  แต่เพียงสิทธิแรงงานและสิทธิชุมชนซึ่งเกี่ยวพันกับสิ่งแวดล้อมเท่านั้น ยังมีการละเมิด

                  สิทธิอื่นๆ ด้วย เช่น กรณีการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวจากการนำาข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า
                  หรือผู้ใช้บริการไปใช้ประโยชน์โดยไม่ได้รับอนุญาต การละเมิดสิทธิทางการเมืองของบริษัท

                  ในกรณีที่เลิกจ้างพนักงานจากการที่พนักงานแสดงออกทางการเมือง เป็นต้น
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31