Page 25 - รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
P. 25
รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 25
ในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
ขณะเดียวกัน ในปี พ.ศ. 2557 รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ (TIP Report 2015)
ประจำาปี พ.ศ. 2557 ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้จัดให้ประเทศไทย
อยู่ในบัญชีกลุ่ม ที่ 3 (Tier 3) หรือกลุ่มประเทศที่มีการค้ามนุษย์ระดับเลวร้ายที่สุด จากการ
่
ที่ประเทศไทยดำาเนินการไม่สอดคล้องกับมาตรฐานขั้นตำาของกฎหมายสหรัฐอเมริกา
และไม่มีความพยายามแก้ไขปัญหา สหภาพยุโรปได้ออกใบเหลืองเพื่อตักเตือนไทย
อย่างเป็นทางการ เนื่องจากไทยไม่มีการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมในเรื่องการทำา
ประมงผิดกฎหมาย ไม่รายงาน และไร้การควบคุมหรือไร้กฎระเบียบ IUU (Illegal,
Unreported and Unregulated Fishing) ประเด็นที่ถูกจับตามองมากเป็นพิเศษ
คือ การทำาประมงโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือใช้เครื่องมือจับปลาที่ผิดกฎหมาย และ
ปัญหาการใช้แรงงานทาส นอกจากกิจการประมงแล้ว ยังพบว่า เหยื่อการค้ามนุษย์
ยังถูกใช้ในกิจการสิ่งทอระดับล่าง โรงงาน การทำางานบ้าน ธุรกิจบริการทางเพศ รวมถึง
การถูกบังคับให้เป็นขอทานด้วย
ด้านการละเมิดสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อม
มักเกี่ยวข้องกับการลงทุนขนาดใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของชุมชน
ตลอดทั้งปี พ.ศ. 2557 กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับสิทธิชุมชนในการเข้าถึงและ
จัดการทรัพยากรธรรมชาติ จำานวน 87 เรื่อง จากเรื่องร้องเรียนทั้งหมด 689 เรื่อง
คิดเป็นร้อยละ 12.6 เรื่องเหล่านี้เกี่ยวข้องกับผลกระทบจากการบริหารจัดการ
้
ทรัพยากรนำา เหมืองแร่ โครงการพัฒนาต่างๆ อุตสาหกรรม ตลอดจนผลกระทบจาก
การพัฒนาพลังงาน โรงไฟฟ้า และปิโตรเลียม ส่งผลกระทบต่อสิทธิของประชาชน
และชุมชนในด้านต่างๆ เช่น สิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานของรัฐ
สิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชน และการแสดงความคิดเห็นก่อนการดำาเนิน
โครงการ นอกจากนี้ เมื่อมีการดำาเนินโครงการเหล่านี้ในพื้นที่ มีทั้งกลุ่มที่ได้รับ
ผลประโยชน์ รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากเจ้าของโครงการ และกลุ่มที่ได้รับ
ผลกระทบจากโครงการ จนทำาให้เกิดปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ (คณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, 2558)
กรณีบริษัทเหมืองแร่ที่ดำาเนินการขุดเจาะแร่ทองคำา และปิโตรเลียมในพื้นที่ภาคเหนือ
และภาคอีสานของไทยเป็นประเด็นที่กล่าวถึงอย่างกว้างขวางและสะท้อนให้เห็นถึง
การละเมิดสิทธิมนุษยชนของธุรกิจในรูปแบบต่างๆ อย่างชัดเจน และเกี่ยวข้องกับ
การดำาเนินธุรกิจข้ามชาติ ขณะที่ผลกระทบจากกิจการเหมืองแร่ส่งผลให้มีประชาชน
เสียชีวิต และป่วยจากสารพิษที่อยู่ใกล้เคียงพื้นที่เหมืองแร่ จนนำาไปสู่การเรียกร้องให้
ปิดเหมืองเพื่อฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม