Page 24 - รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
P. 24
24 รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
ประเด็นหนึ่งที่สำาคัญ คือ การละเมิดสิทธิแรงงานในบริษัทย่อยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทาน
เครือข่ายสหภาพแรงงานในไทย 7 แห่ง ได้ยื่นหนังสือประท้วงรัฐบาลไทยต่อองค์การแรงงาน
ระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO) เมื่อเดือนธันวาคม 2558
เนื้อหาในแถลงการณ์ระบุว่า รัฐบาลไทยล้มเหลวในการคุ้มครองแรงงานราว 39 ล้านคน ซึ่งเกือบ
ครึ่งของจำานวนนี้เป็นแรงงานนอกระบบ ประเทศไทยนับเป็นศูนย์กลางของห่วงโซ่อุปทานระดับ
โลกของบริษัทข้ามชาติจำานวนมาก รัฐบาลจำาเป็นต้องมีมาตรการในการคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็น
กลุ่มคนที่นับเป็นกำาลังหลักสำาคัญในการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ในขณะเดียวกัน
ผู้ประกอบการก็ต้องไม่ละเลยปล่อยให้มีการละเมิดแรงงานเกิดขึ้นในบริษัทย่อยหรือ
สายการผลิตของตน ประมาณร้อยละ 75 ของกลุ่มแรงงานไม่ได้รับการรับรองเกี่ยวกับเสรีภาพ
ในการรวมตัวและเสรีภาพในการร่วมเจรจาต่อรอง ทำาให้ไทยเป็นประเทศที่มีอัตราการ
่
เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานตำาที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คิดเป็นร้อยละ 1.5 เท่านั้น
โดยในหลายกรณีที่เกิดขึ้น แรงงานจะถูกไล่ออกเมื่อพยายามรวมกลุ่มเพื่อการเจรจาต่อรอง
กับนายจ้าง หรือถูกกดดันให้ลาออก ขณะที่เมื่อเรื่องเข้าสู่ชั้นศาล กระบวนการขั้นตอนต่างๆ ก็
ลากยาวยืดเยื้อออกไป จนทำาให้แรงงานต้องยอมรับเงินชดเชยและลาออกเอง (เดลินิวส์, 2558)
ด้านแรงงานข้ามชาติ
รายงานสถานการณ์ด้านสิทธิแรงงานข้ามชาติ พ.ศ. 2557 ของมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริม
คุณภาพชีวิตแรงงานระบุปัญหาของแรงงานข้ามชาติว่า ส่วนใหญ่ถูกล่อลวงให้มา
หางาน จนทำาให้ถูกแสวงหาประโยชน์และตกเป็นเหยื่อของกระบวนการค้ามนุษย์
ประสบปัญหาความปลอดภัยในการทำางาน ซึ่งเมื่อเกิดอุบัติเหตุไม่ได้รับการคุ้มครอง
ทางกฎหมาย นอกจากนี้ ยังมีการใช้แรงงานเด็ก รวมถึงการที่ไม่สามารถเข้าถึง
กระบวนการยุติธรรมทั้งกระบวนการ แรงงานข้ามชาติจึงเสี่ยงต่อการถูกแสวงหา
ประโยชน์จากการอาศัยช่องว่างทางกฎหมาย เช่น การขูดรีดแรงงาน
กรณีการใช้แรงงานทาสในอุตสาหกรรมอาหารทะเลเป็นประเด็นการละเมิดสิทธิที่ถูก
จับตามองเป็นอย่างมากในระดับโลก ตลอดระยะเวลา 4-5 ปีที่ผ่านมา หลังจากสื่อมวลชน
ได้เปิดเผยว่ามีการใช้แรงงานหรือกดขี่แรงงานในธุรกิจประมงและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
โดยระหว่างปี พ.ศ. 2557 - 2558 สื่อต่างๆ ได้นำาเสนอสถานการณ์แรงงานทาสบน
เรือประมงไทยบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายครั้ง โดยได้ตีแผ่สภาพการทำางานที่
เลวร้าย การค้ามนุษย์ การบังคับแรงงานด้วยการทำาให้เป็นหนี้ การทำาร้ายร่างกายและฆาตกรรม
การไม่จ่ายค่าจ้าง กักขังหน่วงเหนี่ยว การบังคับใช้แรงงานให้ทำางานวันละ 20 ชั่วโมง