Page 80 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 80
ให้อ�านาจของผู้หญิงในการตัดสินใจและยินยอม และ
เพื่อความปลอดภัยของหญิงที่ยินยอมท�าแท้งผู้ที่จะ
ท�าแท้งให้ได้จึงต้องเป็นแพทย์ ตามข้อบังคับข้อ ๔ คือ
ต้องเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมาย
และท�าในสถานพยาบาลตามข้อ ๗ ซึ่งถือว่าเป็นการ
คุ้มครองสิทธิในการดูแลและป้องกันสุขภาพ (Rights
to Health Care and Health Protection) อย่างไร
ก็ตามเป็นการสร้างข้อจ�ากัดการท�าแท้ง ยุติการ
ตั้งครรภ์ให้รัดกุมเท่านั้น และเป็นการปกป้องคุ้มครอง
แพทย์ไม่ให้การท�าแท้งเป็นอาชญากรรมมากกว่า
คุ้มครองสิทธิของเยาวชนหญิงตั้งครรภ์ ดังนั้น
ข้อบังคับแพทยสภาจึงไม่ได้มีบทข้อห้ามถึงการปฏิเสธ
การยุติการตั้งครรภ์แพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
โดยสรุปแล้วพบว่า บทกฎหมายต่างๆ ของรัฐไทย มีความพยายามอย่างยิ่งต่อการคุ้มครอง
สิทธิเด็กและเยาวชน ในฐานะประชาชนพลเมืองของรัฐ ซึ่งเป็นการมุ่งเน้นในประเด็นความรุนแรง
ทารุณกรรม การบังคับ และการเลือกปฏิบัติ รวมไปถึงสิทธิในการพัฒนายกระดับชีวิตความเป็นอยู่
ผ่านการศึกษา แต่ไม่ได้มุ่งให้ความส�าคัญถึงการอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ อนามัยเจริญพันธุ์ และสิทธิอนามัย
เจริญพันธุ์ของเด็กและเยาวชน น�าไปสู่การไม่มีกฎหมาย บทบัญญัติในการคุ้มครองสิทธิของเยาวชน
หญิงตั้งครรภ์ ในการดูแลและป้องกันสุขภาพ ในการตัดสินใจว่าจะมีบุตรหรือไม่และจะมีเมื่อใด
การเข้าถึงบริการ ความรู้ส�าหรับยุติการตั้งครรภ์ ยิ่งไปกว่านั้น การท�าแท้งหรือยุติการตั้งครรภ์ยังถูก
บัญญัติในฐานะอาชญากรรมอย่างหนึ่งที่มีบทลงโทษชัดเจน และอยู่บนการตีความของแพทย์และ
เจ้าหน้าที่จากภาครัฐเท่านั้น ไม่ใช่การตัดสินใจของเยาวชนหญิงผู้ตั้งครรภ์ ทั้งๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของ
สิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทาง
เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก แผนปฏิบัติการประชากรและการพัฒนา แผนปฏิบัติเพื่อความก้าวหน้า
ของสตรี
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ // 79