Page 84 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 84
โรงพยาบาลหรือสถานีอนามัยภายใต้การดูแลของกรมอนามัยเจริญพันธุ์ ทว่าส�าหรับกระทรวง
สาธารณสุข การตั้งครรภ์ของเยาวชนหญิงถูกจัดวางให้อยู่ในกลุ่มปัญหาและภัยสังคมเช่นเดียวกับ
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่รู้จักผิวเผิน มะเร็งปากมดลูกที่จะต้องเฝ้าระวัง
ป้องกัน โดยหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอนามัยเจริญพันธุ์ จาก “ข้อมูลก�รเฝ้�ระวัง ง�นอน�มัย
เจริญพันธุ์” ซึ่งเป็นสถิติครอบคลุมถึงในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ พบว่าเป็นข้อมูลการศึกษาส�ารวจ นักเรียน
(มัธยมศึกษาปีที่ ๒, ๕ และ ปวช.ชั้นปีที่ ๒) อายุเฉลี่ยการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก อัตราของการเคยมี
เพศสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์โดยได้สิ่งของตอบแทน อัตราการใช้ถุงยางอนามัย การมีเพศสัมพันธ์
กับคนรักและคนที่รู้จักผิวเผิน อัตราของแม่ที่คลอดบุตรอายุน้อยกว่า ๒๐ ปี รวมไปถึงการศึกษา
ส�ารวจอัตราผู้ป่วยเอดส์ที่มารับการรักษาครั้งแรก อัตราการป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของ
วัยรุ่น อายุ ๑๐ - ๒๔ ปี อัตราการเป็นมะเร็งปากมดลูก และความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับเด็กและผู้หญิง
ซึ่งเป็นข้อมูลที่รับมาจากส�านักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ส�านักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อ
ทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ส�านักงานส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย
เมื่อการตั้งครรภ์ของเยาวชนอยู่ในกลุ่มเดียวกับความเจ็บป่วย และถูกจัดวางให้เป็นส่วนหนึ่ง
ของปัญหาสังคมที่จะต้องป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น และเพื่อให้การป้องกันมีประสิทธิภาพมากขึ้นใน “ก�ร
พัฒน�สุขภ�พเด็กวัยเรียนและวัยรุ่น” หน่วยงานของรัฐจึงต้องให้ชุมชนและภาคประชาชนเข้ามา
มีส่วนร่วมกับกระบวนการมากขึ้นด้วย “แผนยุทธศ�สตร์ก�รพัฒน�สุขภ�พเด็กวัยเรียนและ
วัยรุ่น” (กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, ๒๕๕๔) ที่เป็นการวาดกรอบในการก�าหนดทิศทางการ
พัฒนาขององค์กรและกลยุทธ์ต่างๆ ที่ก�าหนดขึ้น เพื่อสร้างแนวทางหรือวิธีการพัฒนาสุขภาพของ
เด็กวัยเรียนและวัยรุ่นเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมโดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
ที่มีการมุ่งเน้นในระดับประชาชน ที่ให้ครอบครัวและชุมชน เฝ้าระวัง ประชาชนสร้างชมรม แกนน�า
เครือข่าย จัดท�ากิจกรรม โครงงานสุขภาพ เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ด้านสุขภาพ
ในชุมชน และสร้างบุคคลต้นแบบด้านสุขภาพอนามัยหรือ “อัศวินอน�มัย” ในกลุ่มนักเรียนและ
วัยรุ่น และในระดับภาคี เช่น สถานศึกษา หน่วยงานสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)
หน่วยงานภาครัฐและเอกชน NGO สื่อมวลชน ที่จะต้องพัฒนาศักยภาพ มีโรงเรียนต้นแบบตาม
มาตรฐาน สถานบริการสร้างความเป็นมิตรกับวัยรุ่นในการบริการ มีเวทีประชาคมพัฒนาสุขภาพ
นักเรียนและวัยรุ่น
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ // 83