Page 75 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 75
แม้ในมาตรา ๓๐๕ จะอนุญาตให้สิทธิผู้หญิงตั้งครรภ์ในการยุติการตั้งครรภ์ได้ แต่เป็นการใช้
สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ภายใต้อ�านาจและการตัดสินใจของแพทย์ ไม่ใช่หญิงเจ้าของครรภ์เอง และใน
ประมวลกฎหมายจะคุ้มครองหญิงตั้งครรภ์จากความรุนแรง ตามมาตรา ๒๗๖ มาตรา ๒๗๗ มาตรา
๒๘๒ มาตรา ๒๘๓ หรือ มาตรา ๒๘๔ ซึ่งหมายถึง การตั้งครรภ์จากการข่มขืนช�าเรา หรือใช้อุบาย
หลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้ก�าลังประทุษร้าย ใช้อ�านาจครอบง�าผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจ ท�าให้
ผู้หญิงตกอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ ซึ่งเป็นการคุ้มครองผู้ถูกละเมิดสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์
แต่ในประมวลกฎหมายเองก็ได้ละเมิดสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ด้วยการไม่ให้ผู้หญิงมีสิทธิในการตัดสินใจ
อย่างอิสระและรับผิดชอบในเรื่องจ�านวนบุตร เวลาที่จะมีบุตร และระยะห่างของการมีบุตรแต่ละคน
มีสิทธิในการตัดสินใจอย่างเสรีและรับผิดชอบในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับเพศวิถี สุขภาพทางเพศ
และเกี่ยวกับการเจริญพันธุ์ โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ บังคับ หรือใช้ความรุนแรง ตามสิทธิในการมีชีวิต
อยู่อย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิในการตัดสินใจว่าจะมีบุตรหรือไม่และจะมีเมื่อใด และสิทธิ
ในการดูแลและป้องกันสุขภาพ
แต่เป็นที่น่าสังเกตว่ามาตรา ๒๗๗ เปิดโอกาสให้เด็กที่อายุต�่ากว่า ๑๕ ปี สามารถท�าแท้งได้
อย่างถูกกฎหมาย เพราะระบุไว้ว่า
“มาตรา ๒๗๗ ผู้ใดกระท�าช�าเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีของ
ตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม...”
ซึ่งจากการตีความโดยอาศัยตัวบทกฎหมาย เยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์และอายุต�่ากว่า ๑๕ ปี
สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ตามมาตรา ๓๐๕
อย่างไรก็ตาม แม้กฎหมายจะมีช่องว่างในการตีความ ที่เป็นการเปิดโอกาสให้เยาวชนหญิง
ตั้งครรภ์สามารถใช้สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เยาวชนที่อายุต�่ากว่า ๑๕ ปี แต่ต้อง
ผ่านการพิจารณาและการตีความโดยแพทย์ ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่สร้างปัญหาต่อการตีความและการ
ปฏิบัติ ท�าให้แพทย์ปฏิเสธการท�าแท้ง เพื่อความปลอดภัยทางกฎหมายของผู้เป็นแพทย์เอง ซึ่งขัด
ต่อหลักสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ที่การประกันสุขภาพของรัฐบาล และบุคลากรทางการแพทย์จะต้อง
บริการต่อผู้หญิงโดยยึดหลักสิทธิมนุษยชน มีความละเอียดอ่อน เข้าใจมิติเพศภาวะ และยึดถือ
ความสมัครใจของผู้รับบริการที่ได้ข้อมูลครบถ้วนเป็นหลัก
74 // ปัญหำเยำวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน