Page 79 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 79
ข้อ ๖ การยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ ตามมาตรา ๓๐๕ (๒) แห่งประมวลกฎหมาย
อาญานั้น ต้องมีหลักฐานหรือข้อเท็จจริงอันควรเชื่อได้ว่า หญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระท�า
ความผิดอาญา ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๐๕ (๒) แห่งประมวลกฎหมายอาญา
ข้อ ๗ การยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ตามข้อ ๕ และข้อ ๖ ต้องกระท�าใน
สถานพยาบาล ดังต่อไปนี้
๑) โรงพยาบาลหรือหน่วยงานของรัฐที่ให้บริการรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน หรือ
สถานพยาบาลเวชกรรมที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
ทั้งนี้ โดยสามารถปฏิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ได้ตามความเหมาะสม
(๒) คลินิกเวชกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล โดยสามารถปฏิบัติเกี่ยวกับ
การยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ที่อายุครรภ์ไม่เกินสิบสองสัปดาห์
ข้อ ๘ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์
ตามข้อบังคับนี้ จะต้องท�ารายงานเสนอต่อแพทยสภา ตามเงื่อนไขและระยะเวลาในแบบ
ฟอร์มที่แพทยสภาก�าหนด
ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้กระท�าการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์
ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ ให้ถือว่าผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้นั้นประกอบวิชาชีพเวชกรรม
โดยไม่รักษามาตรฐานในระดับที่ดีที่สุด
ข้อ ๑๐ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์
ตามข้อบังคับนี้ ให้ถือว่าได้กระท�าตามมาตรา ๓๐๕ แห่งประมวลกฎหมายอาญา”
(ราชกิจจานุเบกษา ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๘ เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๑๑๘ ง หน้า ๗ - ๘)
แม้ว่ากฎหมายรัฐไทยตีตราว่าการท�าแท้งเป็นอาชญากรรม แต่อย่างน้อยที่สุดถือว่ายังคุ้มครอง
สิทธิในการตัดสินใจว่าจะมีบุตรหรือไม่และจะมีเมื่อใด (Rights to Decide Whether or When to
Have Children or Rights to Self-determination) อยู่บ้าง ตามข้อบังคับแพทยสภาข้อ ๓ ที่ยัง
78 // ปัญหำเยำวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน