Page 77 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 77
เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่ละบทมีอัตราโทษเท่ากัน ให้ลงโทษ
ฐานประกอบโรคศิลปะ โดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตจ�าคุก ๖ เดือน รวมจ�าคุก
๑ ปี ๖ เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจ�าคุก ๙ เดือน...”
(ไทยจัดจ์, ๒๕๕๕)
เช่นเดียวกับค�าพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๙๗๘/๒๕๔๘ ที่ผู้กระท�าแท้งให้หญิงที่ยินยอมในฐานะ
จ�าเลยมี
“...ความผิดฐานประกอบโรคศิลปะโดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.
การประกอบโรคศิลปะฯ”
และ
“...ความผิดฐานร่วมกันมีเพนตาโซซีนกับไดอาซีแพมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับ
ใบอนุญาตกับฐานร่วมกันใช้ประโยชน์ซึ่งเพนตาโซซีนกับไดอาซีแพมโดยไม่ได้รับใบอนุญาต…”
(ไทยจัดจ์, ๒๕๕๕)
ซึ่งจากค�าพิพากษาของศาลชั้นต้นเผยให้เห็นว่า ไม่เพียงจ�าเลยผิดกฎหมายอาญาฐานที่ท�าแท้ง
แล้ว จ�าเลยยังมีความผิดตามกฎหมายอื่นๆ นอกเหนือจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอนามัยเจริญพันธุ์
เช่น พ.ร.บ. สถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๑ พ.ร.บ. การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ร.บ.วัตถุ
ที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน และศาลชั้นต้น
ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิด ดังนั้นในการลงโทษผู้ที่กระท�าแท้งยุติการตั้งครรภ์ไม่เพียง
รับบทลงโทษเฉพาะการท�าแท้ง แต่ยังต้องรับบทลงโทษอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย
l ข้อบังคับแพทยสภ�
ในประเด็นการท�าแท้ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐๑ - ๓๐๕ มีความเกี่ยวเนื่อง
กับข้อบังคับแพทยสภาโดยตรง เพราะไม่เพียงให้อ�านาจในการตัดสินใจของแพทย์ในการท�าแท้ง
ยังให้อ�านาจแพทย์ให้เป็นผู้ท�าแท้งแก่เยาวชนหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งคณะกรรมการแพทยสภา
76 // ปัญหำเยำวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน