Page 81 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 81

๒.๔  มาตรการของภาครัฐและภาคสังคมต่อเยาวชนหญิง

                        ที่ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม








                       ส�าหรับค�าว่า “แม่วัยรุ่น” หรือ “เย�วชนหญิงตั้งครรภ์” ในความหมายของทางหน่วยงาน

                 และองค์กรภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมพบว่า เป็นความหมายของเยาวชน

                 หญิงตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ (unwanted pregnancy) และไม่ได้วางแผน (unplanned

                 pregnancy) ไม่ใช่ความหมายที่เยาวชนหญิงตั้งใจที่จะตั้งครรภ์เองหรือใช้สิทธิที่จะตั้งครรภ์โดย

                 ก�าหนดช่วงอายุของตนเองไว้แล้ว มากไปกว่านั้นยังตีความว่าเป็นผลจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัย


                       แม้ค�าว่า “เพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร” ไม่ได้ถูกตีความอย่างชัดเจนถึงช่วงเวลาก็ตาม และ

                 มีความลื่นไหลตามบริบทสังคม แต่ในส�านึกของรัฐไทยยังคงมองว่าเพศสัมพันธ์เป็นสิ่งต้องห้ามส�าหรับ

                 เยาวชน เป็นการกระท�าก่อนวัยอันควร จากค�ากล่าวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขณะที่ด�ารงต�าแหน่ง

                 นายกรัฐมนตรี ในพิธีเปิดการมอบนโยบายการด�าเนินงานตามยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหา

                 เด็กและเยาวชนตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ว่า ปัญหาเด็กและเยาวชนตั้งครรภ์

                 ไม่พร้อมเป็นปัญหาหนึ่งที่บ่งบอกถึงความอ่อนแอของสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และ

                 กลไกการควบคุมจากสังคม ซึ่งเป็นผลให้เด็กและเยาวชนมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรจนน�าไปสู่

                 การตั้งครรภ์ไม่พร้อม (รัฐบาลไทย, ๒๕๕๔)



                       การตั้งครรภ์ไม่พร้อมในเยาวชนหญิงจึงเป็นเรื่องที่รัฐตระหนักถึงปัญหาและพยายามแก้ไข

                 อย่างเร่งด่วน เพราะส�าหรับรัฐแล้วเสมือนความอ่อนแอและไร้ประสิทธิภาพทางบรรทัดฐานทางสังคม

                 ที่ท�าหน้าที่ควบคุมก�ากับและการพัฒนาศักยภาพพลเมือง จึงได้มีนโยบายเร่งป้องกันและแก้ไขปัญหา

                 เด็กและเยาวชนตั้งครรภ์ไม่พร้อม ในเชิงบูรณาการและเชื่อมโยงกับทุกหน่วยงานภาครัฐเอกชน และ

                 เครือข่ายภาคสังคมต่างๆ โดยให้กระทรวงศึกษาธิการจัดระบบให้เยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์และ

                 คลอดบุตรแล้วได้กลับมาเรียนต่อ และพัฒนาหลักสูตรการสอนวิชาเพศศึกษาให้เหมาะสมกับเด็ก

                 แต่ละช่วงวัย กระทรวงแรงงานจัดกิจกรรมอบรมวิชาชีพและจัดหางานให้เยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์

                 ท�ารวมทั้งพัฒนาฝีมือแรงงานให้เป็นแรงงานที่มีทักษะและแรงงานที่มีคุณภาพ กระทรวงสาธารณสุข

                 ให้ความรู้เรื่องสุขภาวะทางเพศ หรือการจัดบริการให้ค�าปรึกษาในรูปแบบต่างๆ (รัฐบาลไทย, ๒๕๕๔)







                             80    // ปัญหำเยำวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86