Page 83 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 83

คุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ เข้าไปให้ค�าแนะน�า ประเมินสภาวะเพื่อให้การช่วยเหลือแม่วัยเยาว์และ

                 ครอบครัว (รัฐบาลไทย, ๒๕๕๔)


                       ด้วยความตระหนักในประเด็นเยาวชนหญิงตั้งครรภ์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวง

                 การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จึงได้จัดเวทีเสวนา “โครงก�รรณรงค์ป้องกันก�ร

                 ตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น” เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ (วัลยา ธรรมพนิชวัฒน์, ๒๕๕๓,

                 น. ๕ - ๙) และได้ก�าหนดโครงการเฝ้าระวังการตั้งครรภ์ของเด็กหญิงวัยเยาว์อายุน้อยกว่า ๑๕ ปี ที่ด�าเนิน

                 การตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ตามยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๕๔

                 โดยมีศูนย์การเฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคมเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ (กระทรวงการพัฒนาสังคม

                 และความมั่นคงของมนุษย์, ๒๕๕๔) โครงการนี้มีจุดประสงค์ที่จะให้เยาวชนหญิงตั้งครรภ์อายุต�่ากว่า

                 ๑๕ ปีได้รับความช่วยเหลือตามบริบทที่เหมาะสม อย่างน้อยร้อยละ ๙๐ ซึ่งเป็นการคุ้มครองสิทธิ

                 อนามัยเจริญพันธุ์ของเยาวชนหญิงตั้งครรภ์ ทั้งสิทธิในการมีชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์,

                 สิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารและการศึกษา และสิทธิในการดูแลและป้องกันสุขภาพ



                       ส�าหรับกระบวนทัศน์ของกระทรวงนี้มองว่า เพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นยังคงเป็นเพศสัมพันธ์ก่อน

                 วัยอันควร เช่นเดียวกับที่ครอบครัวของเยาวชนยังคงมีบทบาทส�าคัญและหน้าที่ในการป้องกัน

                 ตามงานวิจัยของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และการตั้งครรภ์ “ก่อนวัย

                 อันควร” ของเยาวชน ป้องกันด้วยการไม่มีเพศสัมพันธ์ “ก่อนวัยอันควร” และครอบครัวมีบทบาท

                 ส�าคัญอย่างมากต่อการป้องกัน โดยมุ่งไปที่เยาวชนหญิง ด้วยการให้ความรู้ สร้างความสัมพันธ์ที่ดี

                 การคุมก�าเนิด เพศสัมพันธ์ อย่างตรงไปตรงมา อธิบายถึงโทษที่ไม่เชื่อฟังสมาชิกในครอบครัวที่เป็น

                 ผู้ใหญ่ สอนให้รู้จักความพอเพียง ไม่มัวเมาไปกับวัตถุนิยม ปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ รายงานวิจัย

                 ฉบับสมบูรณ์ บทบาทครอบครัวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของวัยรุ่นไทย (ส�านัก

                 มาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, ๒๕๕๓)



                       l กระทรวงส�ธ�รณสุข



                       ในการศึกษาส�ารวจสถิติของเยาวชนหญิงตั้งครรภ์ เป็นบทบาทส�าคัญของกระทรวงสาธารณสุข

                 เนื่องจากในรัฐสมัยใหม่ วาทกรรมทางการแพทย์ได้เข้ามามีบทบาทส�าคัญต่อการตั้งครรภ์ ทั้งการ

                 ฝากครรภ์ ดูแลครรภ์ การคลอดและการดูแลหลังการคลอด ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายใน







                             82    // ปัญหำเยำวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88