Page 68 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 68
(๑) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน
โดยค�านึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
(๒) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์
ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
มาตรา ๒๕ รัฐต้องส่งเสริมการด�าเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ ตลอดชีวิต
ทุกรูปแบบ ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์
อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ แหล่งข้อมูลและแหล่ง
การเรียนรู้อื่นอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ”
เห็นได้ชัดว่า พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ฉบับเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้คุ้มครอง
สิทธิแม่วัยรุ่นอย่างรัดกุม ในประเด็นการเข้าถึงความรู้ สิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารและการศึกษา
โดยตรง ขณะเดียวกันก็เป็นการคุ้มครองสิทธิในการมีชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
(Rights to Life) เพราะในระบบการศึกษามีการสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวิต การได้รับ
บริการการปรึกษา
l พระร�ชบัญญัติคุ้มครองเด็ก (๒๕๔๖)
พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก (๒๕๔๖) มุ่งเน้นการปกป้อง ป้องกัน คุ้มครอง รวมไปถึงเยียวยา เด็กที่
ถูกทารุณกรรมและการกระท�าที่เป็นอันตรายต่อเด็ก ที่เป็นไปตามสิทธิในการมีชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี
ความเป็นมนุษย์ (Rights to Life) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การละเมิดสิทธิเยาวชนที่อายุต�่ากว่า ๑๘ ปี
ซึ่ง พ.ร.บ. ฉบับนี้ได้ก�าหนดนิยามความหมายของ “เด็ก” และ “ท�รุณกรรม” ไว้ดังนี้
มาตรา ๔ “ “เด็ก” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต�่ากว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่
รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส”
“ทารุณกรรม” หมายความว่า การกระท�าหรือละเว้นการกระท�าด้วยประการใด ๆ
จนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพ หรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ การกระท�าผิด
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ // 67