Page 64 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 64
ตั้งครรภ์ของเยาวชนหญิง ท�าให้ไม่ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย และการสนับสนุนทางสังคม
ส่งผลให้เยาวชนหญิงเหล่านี้ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิในด้านต่างๆ ของตนได้อย่างเต็มที่
๒.๓ กฎหมายในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับเยาวชนหญิง
ที่ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม
ส�าหรับประเทศไทยที่มีประชากรประมาณ ๖๗,๐๙๑,๐๙๘ คน เป็นชาติพันธุ์ไทยร้อยละ ๗๕,
จีนร้อยละ ๑๔ และอื่นๆ ร้อยละ ๑๑ และนับถือศาสนาพุทธร้อยละ ๙๔.๖, อิสลามร้อยละ ๔.๖,
คริสต์ร้อยละ ๐.๗ และอื่นๆ ร้อยละ ๐.๑ ประชากรมีอายุประมาณ ๐ - ๑๔ ปี: ร้อยละ ๑๙.๙ (ชาย
๖,๗๗๙,๗๒๓/หญิง ๖,๔๖๖,๖๒๕) อายุประมาณ ๑๕ - ๖๔ ปี: ร้อยละ ๗๐.๙ (ชาย ๒๓,๔๑๐,๐๙๑/
หญิง ๒๓,๙๑๓,๔๙๙) และอายุประมาณ ๖๕ ปีขึ้นไป: ร้อยละ ๙.๒ (ชาย ๒,๗๗๘,๐๑๒/หญิง
๓,๓๗๒,๒๐๓) ซึ่งมีอัตราการเพิ่มประชากรอยู่ที่ร้อยละ ๐.๕๔๓ ซึ่งเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ
ทั่วโลกอยู่ที่ ล�าดับที่ ๑๔๗ (Central Intelligence Agency, 2011) ซึ่งตัวเลขสถิติที่ประชุมองค์การ
อนามัยโลก (World Health Organization: WHO) และจากจ�านวนประชากรวัยรุ่นและเยาวชน
อายุ ๑๐ – ๒๔ ปี มีร้อยละ ๒๒ (๑๔ ล้านคน) ของประชากรทั้งหมด (ทะเบียนราษฎร์ กรมการ
ปกครอง, ๒๕๕๒) และจากการส�ารวจในปีเดียวกัน ค่าเฉลี่ยของผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุต�่ากว่า ๒๐ ปี
ของทั่วโลกอยู่ที่ ๖๕ ต่อ ๑,๐๐๐ คน ส่วนค่าเฉลี่ยของผู้หญิงในทวีปเอเชียอยู่ที่ ๕๖ ต่อ ๑,๐๐๐ คน
โดยประเทศไทยมีผู้หญิงตั้งครรภ์ที่อายุต�่ากว่า ๒๐ ปี จ�านวน ๗๐ ต่อ ๑,๐๐๐ คน ซึ่งเป็น
ตัวเลขที่สูงสุดของประเทศในทวีปเอเชีย และตัวเลขเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (วัลยา
ธรรมพนิชวัฒน์, ๒๕๕๓, น. ๕ - ๙)
นอกจากนี้ ข้อมูลสภาวะการมีบุตรของวัยรุ่นไทยที่รวบรวมโดยศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสาร กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ระบุว่า ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ มีมารดา
วัยรุ่นอายุต�่ากว่า ๒๐ ปีที่คลอดบุตร จ�านวน ๗๘๗,๗๓๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๓.๕๕๑ ซึ่งสูงกว่า
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ // 63