Page 66 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 66
การศึกษา ซึ่งเป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ ข้อ ๑๐
“ก�าหนดว่ารัฐภาคีจะใช้มาตรการที่เหมาะสมทุกอย่างเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง เพื่อให้หญิง
และชายมีสิทธิในการศึกษาอย่างเสมอภาคกัน” ซึ่งได้ก�าหนดไว้ในมาตราที่ ๑๐ และ ๑๑ ตามหมวด
๒ สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา ดังนี้
“มาตรา ๑๐ การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกัน ในการรับ
การศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่
เก็บค่าใช้จ่าย การจัดการศึกษาส�าหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติ
ปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ
หรือบุคคล ซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคล
ดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ…”
และ
“มาตรา ๑๑ บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่
ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับ...”
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ตาม พ.ร.บ. “ ‘การศึกษาขั้นพื้นฐาน’ หมายความ
ว่า การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา และ ‘สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน’ หมายความว่า สถานศึกษาที่
จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน” ซึ่งในมาตราที่ ๓ ระบบการศึกษาอธิบายถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานและ
การศึกษาภาคบังคับไว้ว่า “การศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่าสิบสองปีก่อน
ระดับอุดมศึกษา การแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นไปตามที่ก�าหนดใน
กฎกระทรวง” และ “มาตรา ๑๗ ให้มีการศึกษาภาคบังคับจ�านวนเก้าปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้า
ปีที่เจ็ด เข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่เก้า
ของการศึกษาภาคบังคับหลักเกณฑ์และวิธีการนับอายุให้เป็นไปตามที่ก�าหนดในกฎกระทรวง”
นอกจากนี้ในการจัดระบบการศึกษา ยังได้แบ่งรูปแบบออกเป็น ๓ ประเภท ในหมวดที่ ๓ ดังนี้
“มาตรา ๑๕ การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษา
นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ // 65