Page 67 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 67
(๑) การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่ก�าหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร
ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการส�าเร็จการศึกษา
ที่แน่นอน
(๒) การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการก�าหนดจุดมุ่งหมาย
รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็น
เงื่อนไขส�าคัญของการส�าเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสม
สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
(๓) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
ตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคลประสบการณ์
สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งความรู้อื่นๆ สถานศึกษา อาจจัดการศึกษาในรูปแบบ
ใดรูปแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบก็ได้ ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ใน
ระหว่างรูปแบบเดียวกัน หรือต่างรูปแบบได้ ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนจากสถานศึกษา
เดียวกันหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งจากการเรียนรู้นอกระบบ ตามอัธยาศัย การฝึกอาชีพ หรือ
จากประสบการณ์การท�างาน”
มากไปกว่านั้น ในหมวดที่ ๔ แนวการจัดการศึกษา ยังก�าหนดให้สถานศึกษาต้องจัดการ
การศึกษาให้สอดคล้องกับส�าหรับแม่วัยรุ่น ตาม
“มาตรา ๒๒ การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถ เรียนรู้
และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความส�าคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษา
ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ”
และ
“มาตรา ๒๔ การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ด�าเนินการดังต่อไปนี้
66 // ปัญหำเยำวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน