Page 62 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 62
เป็นที่น่าสังเกตว่า บทบัญญัติที่เกี่ยวกับรัฐ จะอยู่ในหมวดของ อ�านาจและหน้าที่ความ
รับผิดชอบของรัฐ ในการปรับปรุงการเข้าถึงและคุณภาพของข้อมูลข่าวสาร การศึกษา การให้ค�าปรึกษา
และการบริการด้านการคุมก�าเนิด อย่างไรก็ตาม กฎหมายมีการย้อนแย้งกันเองในแง่ที่ว่า นโยบาย
การวางแผนครอบครัวจะก�าหนดและก�ากับโดยความพยายาม การวางแผนการตั้งครรภ์จะต้องผ่าน
หลักและบรรทัดฐานทางศาสนา สถานภาพของความก้าวหน้าทางสังคม-เศรษฐกิจและวัฒนธรรม
และค่านิยมของชุมชน นอกจากนี้ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า สิทธิของบุคคลส่วนหนึ่งย่อมถูกลิดรอน
หากต่างจากค่านิยมทางสังคมและหลักทางศาสนา ที่ไม่ได้เอื้อต่อการด�ารงอยู่ของเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์
โดยไม่พร้อม ซึ่งไม่สามารถเข้าถึงสิทธิที่บัญญัติไว้ในกฎหมายได้
Population Law บัญญัติว่า การให้บริการด้านการคุมก�าเนิดยังคงจ�ากัดเฉพาะสามีภรรยา
ที่สมรสกันแล้วเท่านั้น ขณะเดียวกัน New Health Law (Law No. 36/2009) ให้ความส�าคัญกับ
สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ และอนุญาตให้สามารถท�าแท้งโดยปลอดภัยได้ส�าหรับกรณีที่มีข้อบ่งชี้ทาง
การแพทย์ และกรณีข่มขืนกระท�าช�าเราที่เป็นสาเหตุของการตั้งครรภ์ แต่ยังคงต้องมีการพัฒนากฎ
ระเบียบส�าหรับการด�าเนินงาน ยาคุมก�าเนิดแบบที่มีฮอร์โมนถูกระบุว่าเป็นยาและต้องมีใบสั่งยาจาก
แพทย์ ความก�ากวมของกฎหมายที่ก่อให้เกิดปัญหาการตีความกฎหมาย ท�าให้เกิดความไม่เสมอภาค
และการเข้าไม่ถึงการบริการด้านสุขภาพ การวางแผนครอบครัวและการคุมก�าเนิดของเยาวชนหญิง
เช่นเดียวกับประเทศฟิลิปปินส์ ความคิดความเชื่อทางศาสนามีอิทธิพลอย่างมากต่อการเข้าถึง
สิทธิด้านต่างๆ ของเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม
กล่าวโดยสรุป จากการศึกษากฎหมายของทั้งสามประเทศ มีข้อเหมือนและแตกต่างไปตาม
บริบททางสังคมและวัฒนธรรม ฐานคิดของสังคมที่เป็นตัวก�ากับและสะท้อนออกมาในตัวบทกฎหมาย
นโยบายและมาตรการ แม้ว่าทั้งสามประเทศจะรับเอามุมมองเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นแนวคิดที่
น�าเข้าจากตะวันตก แต่การน�าแนวคิดนี้มาใช้มีความแตกต่างกันไปตามบริบทของแต่ละประเทศ
ด้วยเช่นกัน กฎหมายที่สะท้อนฐานคิดทางสังคมและวัฒนธรรม บางส่วนย้อนแย้งกับกติการะหว่าง
ประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ภาค ๒ ข้อ ๕ ซึ่งกล่าวว่า
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ // 61