Page 32 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 32
ต่อสังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของพลเมือง จึงมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับสิทธิเยาวชนหญิงตั้งครรภ์
โดยเฉพาะ โดยระบุไว้ตามภาคและข้อต่างๆ ได้แก่ ภาค ๒ ข้อ ๕ ดังนี้
“๒. ห้ามการจ�ากัดหรือลิดรอนสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ได้รับการรับรองหรือที่มี
อยู่ในประเทศใด โดยอาศัยอ�านาจของกฎหมาย อนุสัญญา ข้อบังคับ หรือจารีตประเพณี
โดยอ้างว่ากติกานี้ไม่รับรองสิทธิเช่นว่านั้น หรือรับรองสิทธินั้นในขอบเขตที่ด้อยกว่า”
และภาค ๓ ข้อ ๑๐ ดังนี้
“รัฐภาคีแห่งกติกานี้รับรองว่า
๑. ครอบครัว ซึ่งเป็นหน่วยรวมของสังคมที่เป็นพื้นฐานและเป็นธรรมชาติควรได้รับ
การคุ้มครองและช่วยเหลืออย่างกว้างขวางที่สุดเท่าที่จะท�าได้ โดยเฉพาะในการจัดตั้งและ
ในขณะที่ต้องรับผิดชอบต่อการดูแลและการศึกษาของเด็กที่ยังพึ่งตนเองไม่ได้ การสมรส
ต้องกระท�าโดยความยินยอมอย่างเสรีของผู้ที่เจตนาจะสมรส
๒. มารดาควรได้รับการคุ้มครองพิเศษระหว่างช่วงระยะเวลาตามควรก่อนหรือหลัง
การให้ก�าเนิดบุตร ในระหว่างช่วงระยะเวลา เช่นว่า มารดาซึ่งท�างานควรได้รับอนุญาตให้
ลาโดยได้รับค่าจ้าง หรือลาโดยมีสิทธิประโยชน์ด้านสวัสดิการสังคมอย่างเพียงพอ...”
รวมไปถึงการศึกษาที่รัฐจะต้องให้พลเมืองทุกคนในรัฐได้รับการศึกษา ตามกติกาข้อ ๑๓ ที่ว่า
“๑. รัฐภาคีแห่งกติกานี้รับรองสิทธิของทุกคนในการศึกษา รัฐภาคีเห็นพ้องกันว่าการ
ศึกษาจะต้องมุ่งให้เกิดการพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์และความส�านึกในศักดิ์ศรีของตน
อย่างบริบูรณ์ และจะต้องเพิ่มพูนการเคารพในสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน...”
(กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม, ๒๕๕๕)
l อนุสัญญ�ว่�ด้วยก�รขจัดก�รเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ
เนื่องจากเป็นการศึกษาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อมและก�าลังประสบกับปัญหาการ
ด�ารงชีวิตในสังคมและรัฐไทยในมิติสิทธิมนุษยชน จึงจ�าเป็นที่จะต้องใช้อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการ
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ // 31