Page 35 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 35
(ก) เพื่อห้ามภายใต้การบังคับใช้ของข้อห้ามต่าง ๆ ไม่ให้มีการปลดเพราะเหตุแห่งการ
ตั้งครรภ์ หรือเพราะการลาคลอดบุตร และการเลือกปฏิบัติบนพื้นฐานของสถานภาพ
ในการแต่งงาน
(ข) เพื่อริเริ่มให้มีการลาคลอดบุตรโดยได้รับค่าจ้าง หรือได้ผลประโยชน์ทางสังคมที่
เปรียบเทียบได้โดยไม่สูญเสียการงานเดิม อาวุโสในการท�างาน หรือเงินช่วยเหลือ
ทางสังคม”
เช่นเดียวกัน ในประเด็นของสุขอนามัย สุขภาวะทางเพศ เยาวชนหญิงตั้งครรภ์ยังได้รับ
การคุ้มครองสิทธิโดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลปัจจัยต่างๆ ตามข้อ ๑๒
“๑. รัฐภาคีจะใช้มาตรการที่เหมาะสมทุกอย่าง เพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีใน
ด้านการรักษาสุขภาพ เพื่อประกันการมีโอกาสได้รับการบริการในการรักษาสุขภาพ
รวมทั้งบริการที่เกี่ยวกับการวางแผนครอบครัว บนพื้นฐานของความเสมอภาคของบุรุษ
และสตรี
๒. ทั้ง ๆ ที่มีบทบัญญัติในวรรค ๑ ของข้อนี้ รัฐภาคีจะประกันให้สตรีได้รับบริการที่
เหมาะสมเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การคลอดบุตร และระยะหลังคลอดบุตร โดยการให้บริการ
แบบให้เปล่าเมื่อจ�าเป็น รวมทั้งการให้โภชนาการที่เพียงพอระหว่างการตั้งครรภ์และระยะ
การให้นม”
และในภาคที่ ๔ ข้อ ๑๖ ที่เกี่ยวข้องกับการแต่งงานและความสัมพันธ์ในครอบครัว
“(ง) สิทธิและความรับผิดชอบเช่นเดียวกันในฐานะบิดามารดา โดยไม่ค�านึงถึงสถานะ
ในการสมรสของตน ในเรื่องที่เกี่ยวกับบุตรของตนในทุกกรณีผลประโยชน์ของบุตร
จะเป็นสิ่งที่ส�าคัญที่สุด
(จ) สิทธิเช่นเดียวกันในการตัดสินใจอย่างอิสระและมีความรับผิดชอบในจ�านวนบุตร
และระยะห่างในการมีบุตรของตน และให้เข้าถึงข้อสนเทศ การศึกษาและวิธีที่จะท�าให้
สตรีใช้สิทธิเหล่านี้ได้
34 // ปัญหำเยำวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน