Page 37 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 37
๒. รัฐภาคีจะให้มีการปฏิบัติตามซึ่งสิทธินี้อย่างเต็มที่ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะด�าเนิน
มาตรการที่เหมาะสมดังนี้
ก) ลดการเสียชีวิตของทารกและเด็ก
ข) ประกันให้มีการให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์ที่จ�าเป็นและการดูแลสุขภาพ
แก่เด็กทุกคน โดยเน้นการพัฒนาการดูแลสุขภาพขั้นปฐม
ค) ต่อสู้กับโรคภัยและทุพโภชนาการ รวมทั้งที่อยู่ภายในขอบข่ายของการดูแลสุขภาพ
ขั้นปฐม ซึ่งนอกเหนือจากวิธีการอื่นแล้วยังด�าเนินการโดยการใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่
พร้อมแล้วและโดยการจัดหาอาหารที่ถูกหลักโภชนาการและน�้าดื่มที่สะอาดอย่างเพียงพอ
ทั้งนี้โดยพิจารณาถึงอันตรายและความเสี่ยงของมลภาวะแวดล้อม
ง) ประกันให้มีการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสมแก่มารดาทั้งก่อนและหลังคลอด
จ) ประกันว่าทุกส่วนของสังคม โดยเฉพาะบิดามารดาและเด็ก จะได้รับข้อมูล ข่าวสาร
และเข้าถึงการศึกษาและการสนับสนุนให้ใช้ความรู้พื้นฐานในเรื่องโภชนาการและ
สุขภาพเด็ก เรื่องประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา เรื่องอนามัยและสุขาภิบาล
สภาพแวดล้อม และเรื่องการป้องกันอุบัติเหตุ
ฉ) พัฒนาการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน การแนะแนวแก่บิดามารดาและการให้บริการ
และการศึกษาในเรื่องการวางแผนครอบครัว
๓. รัฐภาคีจะด�าเนินมาตรการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพทั้งปวง เพื่อที่จะ
ขจัดทางปฏิบัติดั้งเดิมที่เป็นผลร้ายต่อสุขภาพของเด็ก”
และข้อ ๒๕ ที่ว่า
“รัฐภาคียอมรับในสิทธิของเด็ก ผู้ซึ่งได้รับการจัดโดยหน่วยงานที่มีอ�านาจให้ได้รับ
การดูแล การคุ้มครองหรือการบ�าบัดรักษาสุขภาพ ทั้งทางร่างกายหรือจิต ในอันที่จะได้
36 // ปัญหำเยำวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน