Page 30 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 30
ตรรกนิรนัย (Deductive Method) โดยสร้างสมมุติฐานและน�าไปทดสอบกับข้อมูลจากการสังเกต
อย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นความพยายามหลีกเลี่ยงความเป็นนามธรรมมากเกินไปของงานวิจัยด้าน
สังคมวิทยา และพยายามอุดช่องว่างระหว่างการวิจัยเชิงประจักษ์ที่ขาดรากฐานทางทฤษฎี
และการสร้างทฤษฎีที่ขาดรากฐานเชิงประจักษ์ (Urquhart et al., 2010, pp. 317 - 416) ซึ่งทฤษฎี
ดังกล่าวท�าให้งานวิจัยมีทั้งความน่าเชื่อถือและสามารถอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมได้อย่างชัดเจน
ส�าหรับ Grounded Theory ในงานวิจัยชิ้นนี้เป็นการน�าชุดประสบการณ์ของเยาวชนหญิงที่
ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อมจากการวิจัยภาคสนามมาศึกษาว่า กลุ่มเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ได้ถูกละเมิด
สิทธิหรือได้รับการคุ้มครองสิทธิอย่างไรบ้างจากการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชนที่อยู่ภายใต้
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และ
วัฒนธรรม อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แผนปฏิบัติการประชากรและการพัฒนา และแผนปฏิบัติเพื่อความก้าวหน้าของสตรี ที่รัฐสมาชิกหรือ
รัฐภาคีจะต้องคุ้มครองสิทธิ ขจัดการละเมิดสิทธิต่างๆ การเลือกปฏิบัติแบ่งแยกกีดกัน
การเข้าถึงการศึกษา ความปลอดภัย รัฐสวัสดิการ ไปจนถึงทรัพยากรต่างๆ ของรัฐและสังคม
ขจัดการกระท�าที่เป็นการทารุณกรรม การข่มเหง
รังแกก่อให้เกิดอันตรายทางกาย จิตใจ ที่เกิดขึ้นกับ
มนุษยชนอย่างเสมอภาคเท่าเทียม ไม่ว่าเพศใดก็ตาม
หรือในวัยใดก็ตาม ซึ่งรวมถึงเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์
ดังนี้
l ปฏิญญ�ส�กลว่�ด้วยสิทธิมนุษยชน
การศึกษาประเด็นต่างๆ ในมิติสิทธิมนุษยชน
เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่ศึกษาและใช้ปฏิญญาสากลว่าด้วย
สิทธิมนุษยชนประกอบ เพราะเป็นการกล่าวถึงการ
คุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นหลักส�าคัญ
พื้นฐานและอย่างเป็นสากล ซึ่งข้อก�าหนดบางประการ
ได้เข้ามาคุ้มครองสิทธิมนุษยชน สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์
ของเยาวชนหญิงตั้งครรภ์โดยตรง ได้แก่
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ // 29