Page 36 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 36
(ฉ) สิทธิและความรับผิดชอบเช่นเดียวกันในเรื่องการปกครองบุตร การปกป้องบุตร
การได้รับมอบหมายให้ดูแลบุตร และการรับบุตรบุญธรรม หรือสถาบันที่คล้ายคลึงซึ่งมี
แนวความคิดเหล่านี้อยู่ในกฎหมายภายใน ในทุกกรณีผลประโยชน์ของบุตรจะเป็นสิ่งส�าคัญ
สูงสุด”
(อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ, ๒๕๕๔)
l อนุสัญญ�ว่�ด้วยสิทธิเด็ก
เยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์บางคน ยังคงถือว่าอยู่ในวัยเด็ก เนื่องจากอายุต�่ากว่า ๑๘ ปี ดังนั้น
ในการศึกษามิติสิทธิมนุษยชนของเยาวชนหญิงตั้งครรภ์จึงจ�าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยอนุสัญญา
ว่าด้วยสิทธิเด็กเป็นอีกกรอบแนวคิด ซึ่งอนุสัญญาดังกล่าวมีข้อก�าหนดจ�านวนมากที่เกี่ยวข้องกับ
สิทธิของเยาวชนหญิงตั้งครรภ์ ตามข้อก�าหนดดังนี้
“ข้อ ๑๙
๑. รัฐภาคีจะด�าเนินมาตรการที่เหมาะสมทั้งปวง ด้านนิติบัญญัติ บริหาร สังคมและ
การศึกษา ในอันที่จะคุ้มครองเด็กจากรูปแบบทั้งปวงของความรุนแรง ทั้งทางร่างกายและ
จิตใจ การท�าร้ายหรือการกระท�าอันมิชอบ การทอดทิ้งหรือการปฏิบัติโดยประมาท
การปฏิบัติที่ผิดหรือการแสวงประโยชน์ รวมถึงการกระท�าอันมิชอบทางเพศ ขณะอยู่ใน
ความดูแลของบิดามารดา ผู้ปกครองตามกฎหมาย หรือบุคคลอื่นใดซึ่งเด็กนั้นอยู่ใน
ความดูแล”
รวมไปถึงในประเด็นสุขอนามัย สุขภาวะทางเพศของเด็ก ซึ่งเกี่ยวข้องกับสิทธิอนามัย
เจริญพันธุ์ตามอนุสัญญา ข้อ ๒๔ ดังนี้
“๑. รัฐภาคียอมรับในสิทธิของเด็กที่จะได้รับมาตรฐานสาธารณสุขที่สูงที่สุดเท่าที่จะ
หาได้ และสิ่งอ�านวยความสะดวกส�าหรับการบ�าบัดรักษาความเจ็บป่วยและการฟื้นฟู
สุขภาพ รัฐภาคีจะพยายามด�าเนินการที่จะประกันว่าไม่มีเด็กคนใดถูกลิดรอนสิทธิในการ
รับบริการดูแลสุขภาพเช่นว่านั้น
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ // 35