Page 177 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 177
ข้อมูลผลการวิจัยจากภาคสนามสอดคล้องกับบทสรุปจากการวิจัยเอกสารทั้งในและ
ต่างประเทศที่สะท้อนให้เห็นว่าทัศนคติที่อยู่เบื้องหลังกฎหมาย นโยบาย หรือมาตรการต่างๆ ทางสังคม
มีส่วนส�าคัญอย่างยิ่งในการชี้น�าแนวทางในการด�าเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาเยาวชนหญิง
ตั้งครรภ์ไม่พร้อม ซึ่งไม่เพียงถูกละเมิดสิทธิการมีชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีด้วยวาทกรรมมายาคติ
ดังกล่าว แต่กรอบศีลธรรมทางศาสนาความเชื่อ ได้ก�าหนดและชี้น�าทางความคิดไม่ให้เยาวชนหญิง
เข้าถึงและใช้สิทธิมนุษยชนและสิทธิ อนามัยเจริญพันธุ์ในการตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ที่พึงได้รับอย่าง
เต็มที่ แม้เยาวชนหญิงตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ก็ไม่ได้ตระหนักถึงสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ในตนเอง
ในการท�าแท้ง อีกทั้งบางรายก็ไม่ได้รับข้อมูลและบริการในการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย เป็นมิตร
และรักษาความลับ เพราะเจ้าหน้าที่รัฐที่ให้บริการเองก็อยู่ในกรอบของศีลธรรมมากกว่าการ
ตระหนักถึงสิทธิมนุษยชนจนเลี่ยงที่จะให้ข้อมูลและบริการการยุติการตั้งครรภ์
เพื่อแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ต่อเยาวชนหญิงตั้งครรภ์ จ�าเป็น
อย่างยิ่งที่สังคมและโดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐจะต้องรื้อสร้าง ทัศนคติ มายาคติต่อเยาวชนว่าเป็นวัยที่ยัง
ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์, เพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นยังคงเป็น “เพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร” เป็นพฤติกรรม
“ชิงสุกก่อนห่าม” เพราะไม่เพียงน�าไปสู่การมีชีวิตอยู่อย่างถูกละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของ
เยาวชน ยังน�าไปสู่การพยายามเลี่ยงไม่ให้ความรู้กับเยาวชนเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ทั้งในเรื่องอนามัย
เจริญพันธุ์ และเพศศึกษา ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารและการศึกษา และ
สิทธิในการดูแลและป้องกันสุขภาพ ทั้งจากสถานศึกษาและสถานพยาบาล
เช่นเดียวกับการประชุมเชิงปฏิบัติการเมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่ นัยนา สุภาพึ่ง
มูลนิธิธีรนาถ กาญจนอักษร ตั้งข้อสังเกตว่า ในสังคมไทยมักจะตัดสินผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
ดังที่มีการบอกฝ่ายหญิงฝ่ายเดียวให้ “รักนวลสงวนตัว” แต่ไม่ได้บอกผู้ชาย ปัญหาการตั้งครรภ์
ของเยาวชนก็มักถูกแก้ไขและป้องกันกับเยาวชนหญิงมากกว่าเยาวชนชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
กระทรวงศึกษาธิการ ที่มีการขยายการศึกษา และน�ากติกาสังคมชุดนี้ที่สร้างขึ้นภายหลังมาวางซ้อนไป
ท�าให้มองว่าการตั้งครรภ์ของเยาวชนหญิงเป็นปัญหาน�าไปสู่การตัดสินและการละเมิดสิทธิ
สังคมไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ควรเริ่มจากการปรับวิธีคิด กระบวนทัศน์
เช่นนี้ เพื่อให้นโยบาย มาตรการและยุทธศาสตร์ต่างๆ เข้ามาปกป้องคุ้มครองสิทธิมากกว่าที่จะ
เป็นแนวทาง “ป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดขึ้น” และเน้นรักนวลสงวนตัวอย่างเดียว แต่ไม่ให้ทางเลือก
176 // ปัญหำเยำวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน