Page 179 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 179
๔.๒.๑ ข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี
l ข้อเสนอแนะเชิงนโยบ�ย
เสนอต่อคณะรัฐมนตรี ให้มีการแต่งตั้งคณะท�างานที่ประกอบด้วยตัวแทนจากภาคประชาสังคม
เพื่อศึกษาผลกระทบจากข้อกฎหมายที่มีอยู่เดิมที่ละเมิดต่อสิทธิมนุษยชนและยกร่างการแก้ไข
ดังกล่าวบรรจุเข้าสู่วาระเพื่อพิจารณาปรับปรุงและแก้ไขมาตรการด้านกฎหมายให้มีการค�านึงถึง
ความละเอียดอ่อนต่อการไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนและสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์เพื่อก�าหนดเป็นนโยบาย
รัฐที่สามารถน�าไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีความสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของสภาพปัญหา
การตั้งครรภ์ไม่พร้อมในปัจจุบัน
l ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ
๑. รณรงค์สร้างกระแสการเปลี่ยนแปลงในสังคมและในหมู่คณะท�างานฝ่ายนิติบัญญัติให้ก้าวข้าม
จากกรอบมายาคติที่ยังมองว่าเด็กและเยาวชนเป็นวัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเจริญพันธุ์และ
การมีเพศสัมพันธ์โดยสร้างความตระหนักว่าเด็กและเยาวชนมีสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์และ
สิทธิทางเพศ เพื่อน�าไปสู่ทัศนคติเชิงบวกในการบัญญัติกฎหมายในการบังคับใช้เพื่อปกป้อง
คุ้มครองสิทธิมนุษยชน สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของเยาวชน สิทธิให้มีข้อก�าหนดที่รอบด้าน
และครอบคลุมถึงสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของเยาวชนมากขึ้น
๒. บัญญัติข้อห้ามจ�าหน่ายนักเรียนออกจากโรงเรียน ใน พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติหรือ
พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก (๒๕๔๖) และระวางโทษอย่างชัดเจน
๓. ควรส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาด้านสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของเด็กและเยาวชนใน พ.ร.บ.
ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ เช่น ก�าหนดสถานสงเคราะห์ช่วยเหลือ
และบริการเด็กและเยาวชนที่ตั้งครรภ์ในการด�ารงครรภ์และยุติการตั้งครรภ์ ในฐานะ
การส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชน
178 // ปัญหำเยำวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน