Page 178 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 178
อื่นๆ รวมไปถึงกระบวนทัศน์และวาทกรรมเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องบาปกรรมและวิญญาณจากการ
ท�าแท้ง โดยให้ความส�าคัญกับการเคารพสิทธิมนุษยชน สิทธิอนามัยเจริญพันธ์มากขึ้น เพราะการ
ท�าแท้งอันที่จริงแล้วสามารถท�าได้ แต่ต้องท�าโดยแพทย์เท่านั้น เพียงแต่แพทย์เลือกที่จะไม่ท�า
เพราะความเชื่อ มากไปกว่านั้นความเชื่อดังกล่าวถูกผลิตซ�้าผ่านการศึกษาในกลุ่มด้านเเพทยศาสตร์
สาธารณสุข และนิติศาสตร์ เช่นที่ ผศ.ดร.สัญญา ภัทราชัย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
และรศ.ดร.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอแนะ (ภาคผนวก ค.)
เห็นได้ชัดว่าการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของเยาวชนหญิงไม่ใช่การ “ก้�วพล�ด” ตามมายาคติสังคม
หากแต่เป็นการถูกปฏิเสธถึงภาวะเจริญพันธุ์ของเยาวชน จนน�าไปสู่การไม่ได้รับสิทธิและการถูก
ละเมิดสิทธิของเยาวชน โดยเฉพาะสิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารและการศึกษาที่เกี่ยวกับอนามัย
เจริญพันธุ์ การมีเพศสัมพันธ์ที่ป้องกันการตั้งครรภ์ที่ถูกต้อง การเข้าถึงบริการ ความรู้ในการดูแล
รักษาตนเองอย่างปลอดภัยในกรณีที่ตั้งครรภ์ ความรู้และบริการการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย
รวมไปถึงการละเมิดสิทธิในการตัดสินใจว่าจะมีบุตรหรือไม่และจะมีเมื่อใดของเยาวชนที่ถึงวัย
เจริญพันธุ์แล้ว
๔.๒ ข้อเสนอแนะ
เพื่อให้เยาวชนหญิงตั้งครรภ์โดยไม่พร้อมสามารถเข้าถึงสิทธิ ได้รับการคุ้มครองสิทธิด้าน
ต่างๆ ที่พึงได้รับ อีกทั้งสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายที่เหมาะสม ได้รับการปฏิบัติที่
เป็นธรรม ความช่วยเหลือ ปกป้อง คุ้มครองเป็นกรณีพิเศษทั้งทางด้านการศึกษา การสาธารณสุข
การพัฒนาและฟื้นฟูเยียวยาทั้งทางร่างกายและจิตใจ จากการวิเคราะห์แนวนโยบายของรัฐ หลักการ
และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องคุ้มครองสิทธิของเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม และ
การศึกษารวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริงอันเป็นสาเหตุและปัจจัยที่ท�าให้เกิดปัญหา รวมถึงผลกระทบ
ในมิติสิทธิมนุษยชนต่อเยาวชนหญิง ซึ่งสามารถสรุปเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และ
ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ รวมถึงข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่อหน่วยงานต่างๆ
ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ได้ดังนี้
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ // 177