Page 172 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 172

๑๔๕



                   ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ให้ผ่อนผันการใช้ประโยชน์ และให้ด าเนินการจ าแนกเขตที่ดินท ากินของชุมชน เพื่อกัน

                   พื้นที่ออกจากเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย

                                       (๒) ให้เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยจัดท าแนวเขตในพื้นที่ให้ชัดเจน และส่งเรื่อง
                   ให้กับส านักงานที่ดิน เพื่อให้ชาวบ้านได้น าไปขอออกเอกสารสิทธิได้ต่อไป


                   4.๒  การส ารวจความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนโดยใช้แบบสอบถาม



                          การส ารวจความคิดเห็นของประชาชนโดยใช้แบบสอบถามเป็นการส ารวจข้อมูลการมีส่วนร่วม
                   ของประชาชนในการก าหนดแนวเขตที่ดินรัฐ เนื่องจากการส ารวจต้องการทราบถึงข้อคิดเห็นและ

                   ข้อเสนอแนะของประชาชนที่ประสบปัญหาในพื้นที่กรณีศึกษาทั้ง ๗ แห่ง ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น
                   โดยครอบคลุมพื้นที่บางส่วนใน 8 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ราชบุรี นครราชสีมา สกลนคร ล าปาง

                   สุราษฎร์ธานี พัทลุง และนครศรีธรรมราช จากจ านวนผู้เข้าร่วมประชุม จ านวน ๓๕๐ ราย มีจ านวนผู้ตอบ
                   แบบสอบถามรวมทั้งสิ้น 129 ราย ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย 111 คน (ร้อยละ 86.0 )

                   เพศหญิง 18  คน (ร้อยละ 14.0) อายุสูงสุด คือ 79 ปี อายุต่ าสุด 23 ปี อายุเฉลี่ย 50.59 ปี  ระดับ
                   การศึกษาส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา 47 คน (ร้อยละ 36.40) รองลงมาจบการศึกษาระดับ

                   ประถมศึกษา 41 คน (ร้อยละ 31.8) และจบการศึกษาระดับปริญญาตรี 27 คน (ร้อยละ 20.9 ) ผู้ตอบ
                   แบบสอบถามส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม 84  คน (ร้อยละ 65.10)  อาชีพรองลงมา คือ

                   รับราชการ 25 คน (ร้อยละ 19.4) นอกเหนือจากนั้นประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ท าธุรกิจส่วนตัว ประมง
                   และบางรายเป็นข้าราชการบ านาญ ผลการตอบแบบสอบถามสรุปได้ดังนี้


                          4.๒.1 ความรู้ ความเข้าใจ ของประชาชนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชน

                                 ในการก าหนดแนวเขตที่ดินรัฐ


                                 การส ารวจข้อมูลในส่วนนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความรู้ ความเข้าใจพื้นฐาน
                   ของประชาชนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการก าหนดแนวเขตที่ดินรัฐว่ามีมากน้อยเพียงไร

                   เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการจัดท าแนวทางในการก าหนดแนวเขตที่ดินรัฐ และสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วม
                   ในการใช้ประโยชน์ และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ของตนเอง


                                 ส าหรับประเด็นความรู้ ความเข้าใจ ของประชาชนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชน
                   ในการก าหนดแนวเขตที่ดินรัฐ แบ่งออกเป็น 5 เรื่อง ได้แก่ (1) ความรู้ ความเข้าใจที่หน่วยงานของรัฐ

                   ต้องมารับฟัง ความคิดเห็นของประชาชนที่ได้รับผลกระทบต่อการด าเนินงานของรัฐ (2)  ความรู้
                   ความเข้าใจที่ให้ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการและใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                   (3) ความรู้ ความเข้าใจที่หน่วยงานของรัฐมีการประชาสัมพันธ์ ชี้แจง และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
                   ก่อนการก าหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ  (4)  การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และให้ข้อเสนอแนะในการ
   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176   177