Page 174 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 174
๑๔๗
4.๒.2 แนวทางหรือข้อเสนอแนะเพื่อให้ภาครัฐน าไปปรับปรุงการด าเนินงาน
ก าหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
การส ารวจความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการก าหนดแนวเขตที่ดิน
ของรัฐโดยใช้แบบสอบถามนั้น ประชาชนผู้ตอบแบบสอบถามได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อเป็น
แนวทางให้ภาครัฐน าไปปรับปรุงการด าเนินงานก าหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ สามารถสรุปประเด็นส าคัญๆ
ได้ดังนี้
(1) ภาครัฐควรประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร ชี้แจง และสร้างความเข้าใจกับประชาชน
และท้องถิ่นให้มีความรู้ ความเข้าใจในการก าหนดแนวเขตที่ดินของรัฐก่อนที่จะประกาศเป็นเขตอุทยาน
แห่งชาติ ควรเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริง ซึ่งในอดีตหน่วยงานของรัฐไม่ประชาสัมพันธ์ท าความเข้าใจ
ให้กับประชาชนให้ทราบถึงข้อเท็จจริง และปัจจุบันชาวบ้านยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับข้อกฎหมายของที่ดิน
(2) ควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น โดยให้ภาครัฐจัดตั้งกลไกการแก้ไข
ปัญหาที่ดินแนวเขตทุกระดับก่อนที่จะประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการ
ก าหนดกฎเกณฑ์ในการใช้ประโยชน์ในที่ดินและรักษาพื้นที่ป่า รวมทั้งให้ภาคประชาชนและท้องถิ่นเข้าร่วม
เป็นคณะท างาน หรือออกส ารวจพื้นที่ร่วมกัน เพื่อให้พบเห็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ก าลังเกิดขึ้น
แล้วน าไปวิเคราะห์เพื่อหาทางออกให้ประชาชนกับรัฐอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เมื่อทุกอย่างเสร็จสมบูรณ์
ควรให้หน่วยงานท้องถิ่นดูแล ร่วมกับคณะท างานในต าบลนั้นๆ หรือร่วมกับภาครัฐ
(3) ภาครัฐควรเร่งจัดท าแนวเขตให้มีความชัดเจน มีการบูรณาการร่วมกันระหว่าง
หน่วยงาน เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาแนวเขตที่ดินที่ทับซ้อนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน รัฐควรแก้ไขปัญหา
แนวเขตให้เป็นปัจจุบัน ด าเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่ดินท ากินให้แก่
ประชาชนให้สามารถท ากินได้ตามปกติ เหมือนช่วงเวลาก่อนที่จะมีประกาศเขตอุทยานแห่งชาติทับซ้อน
ที่ดินท ากินของประชาชน ควรมีความชัดเจนในการออกเอกสารสิทธิให้กับชาวบ้านอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น
หากให้เป็นพื้นที่ด าเนินการปฎิรูปที่ดินก็ให้ก าหนดทั้งอ าเภอ และส านักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
เข้ามาด าเนินการ เพื่อให้ประชาชนสามารถท ากินในพื้นที่ต่อไปได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้ง
ให้ภาครัฐพิจารณาที่ดินเขตป่าไม้ที่เสื่อมสภาพเพื่อน ามาปฏิรูปที่ดินให้ประชาชนที่ไม่มีที่ดินท ากิน และ
แก้ไขปัญหาแนวเขตป่าสงวนให้ตรงกับสภาพความเป็นจริงของชุมชน โดยให้ชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่มี
ส่วนร่วมในการชี้แนวเขต และปลูกป่าเป็นแนวกันชนห้ามบุกรุกต่อไปซึ่งหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบควร
เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริง ส ารวจว่าสิ่งใดควรให้ หรือสิ่งใดควรเก็บรักษาไว้ แต่ในบางพื้นที่ที่มีการพัฒนา
ไปมากแล้วนั้น เช่น พื้นที่บริเวณอ าเภอวังน้ าเขียวควรพัฒนาให้เป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรมและ
ร่วมดูแล และอนุรักษ์ให้มีความยั่งยืน หรือน ารูปแบบของโฉนดชุมชน พระราชบัญญัติป่าชุมชน มาปรับใช้
กับพื้นที่
(4) ภาครัฐควรบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ด าเนินการตามกฎหมายไม่เน้นบุคคลใด
บุคคลหนึ่ง รวมทั้งร่วมกันแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องของทุกหน่วยงานให้มีความทันสมัยและเป็นปัจจุบัน