Page 171 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 171

๑๔๔



                              (๓) ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหา

               ทั้งในระดับพื้นที่และระดับนโยบายหรือกฎหมาย

                                   การประชุมรับฟังความคิดเห็น เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๘ ณ ส านักงาน
               เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ต าบลทะเลน้อย อ าเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ซึ่งมีผู้เข้าร่วม จ านวน ๕๐ ราย

               จากต าบลพนางตุง อ าเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง และต าบลแหลม อ าเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช
               ร่วมกับหัวหน้าและผู้ช่วยหัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย


                                   หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย (นายชาย สุวรณชาติ) ชี้แจงในที่ประชุมว่า
               เมื่อมีการแก้ไขพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งมีบทบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใด

               ครอบครองที่ดินในเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ซึ่งในการประกาศเดิมมีที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ ที่ดินที่มีการครอบครอง
               และที่สาธารณประโยชน์ แต่ในภายหลังเมื่อมีการขยายพื้นที่ของเอกสารสิทธิ จึงต้องมีการควบคุมและ

               ตรวจสอบ ในกรณีที่เป็นเอกสารสิทธิที่มีอยู่เดิมก่อนปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ถือว่าชาวบ้านมีสิทธิชอบด้วยกฎหมาย

                                   ส าหรับที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิ และมีการตรวจพิสูจน์สิทธิตามมติคณะรัฐมนตรี
               เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๑ อยู่ระหว่างขั้นตอนการส่งเรื่องไปยังกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และ

               พันธุ์พืช และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ถ้าพิสูจน์แล้วว่าอยู่ก่อนประกาศเขตป่าไม้
               ก็จะยุติปัญหาได้ ถ้าได้ข้อยุติจะช่วยแก้ปัญหาการบุกรุกเพิ่มเติมได้ แต่เป็นเรื่องนโยบายของกระทรวง

               ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมว่า จะด าเนินการอย่างไรกับบุคคลที่อยู่ก่อนและอยู่หลังการประกาศ
               เขตป่าดังกล่าว


                                   ถ้ามีการพิสูจน์สิทธิแล้ว จะน ามาซึ่งการมีส่วนร่วมในการป้องกันการเผาป่า บุกรุกป่า
               และน าไปสู่การพัฒนาสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมเพื่อการอนุรักษ์ดูแลรักษาป่าพรุได้ในอนาคต

                                   ปัจจุบัน เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยได้มีการจัดท าแนวเขตในพื้นที่ที่ชัดเจนแล้ว

               โดยเจ้าหน้าที่ ได้ลงไปประชุมกับชาวบ้านในพื้นที่ ท าให้ปัญหาคลี่คลายพอสมควร และหลังการ
               ตรวจพิสูจน์สิทธิที่ชัดเจนเป็นการช่วยป้องกันการบุกรุกพื้นที่เพิ่มเติมได้


                                   ในส่วนของประชาชนเห็นว่า การจัดท าแนวเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยให้ชัดเจน
               มีความส าคัญ โดยเฉพาะบริเวณรอยต่อแนวเขต เนื่องจากประชาชนยังไม่สามารถออกเอกสารสิทธิในที่ดินได้

               แม้ที่ดินจะอยู่นอกเขต เนื่องจากเจ้าพนักงานที่ดินเกรงว่าเป็นที่ดินที่อยู่ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย
               ส่วนชุมชนที่อยู่อาศัยและท ากินมาก่อนการประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย แต่ไม่มีเอกสารสิทธิมีมาก

               รัฐควรรับรองสิทธิของชาวบ้านในส่วนนี้

                                   ข้อคิดเห็นและข้อเสนอของประชาชน

                                   (๑) แนวเขตอนุรักษ์ต้องมีความชัดเจนว่า เขตใดคือพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย

               ในส่วนของที่ดินของประชาชนที่ไม่มีเอกสารสิทธิ แต่ท ากินก่อนการประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย
   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176